Sunday, October 28, 2007

คุณรู้จัก "เต้านม" ดีแค่ไหน

"เต้านม" เป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายผู้หญิงที่อยู่บริเวณหน้าอกทั้งสองข้าง ถึงแม้เต้านมของผู้หญิงแต่ละคนจะมีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกันไป แต่ล้วนมีส่วนประกอบต่างๆ ที่เหมือนกันนั้นคือ หัวนม ลานหัวนม ต่อมน้ำนม และท่อน้ำนม ซึ่งคลุมด้วยผิวหนังและเนื้อเยื่อไขมัน

เต้านมเป็นอวัยวะที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่ตลอดเวลา โดยมีวัฏจักรสอดคล้องไปตามอิทธิพลของกระแสฮอร์โมนจากรังไข่ เราสามารถแบ่งช่วงการเจริญเติบโตของเต้านมออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
  1. วัยแรกรุ่น
    เริ่มเมื่อเด็กสาวอายุได้ 10 - 12 ขวบ จากหัวนมที่แบนราบในวัยเด็กก็เริ่มแตกตุ่มและวงปานนมที่ขยายขึ้น ซึ่งการเจริญเติบโตในระยะนี้จะเป็นไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทั่วร่างกาย โดยจะมีอาการเจ็บหน้าอกเพราะหัวนมขึ้นเป็นไตแข็ง จนกระทั่งขยายขนาดเต็มที่เป็นเต้านมของหญิงสาววัยเจริญพันธุ์ ในเด็กผู้หญิงบางคนอาจมีการแตกตัวของเต้านมได้ไวกว่าปรกติ ถ้าเกิดขึ้นก่อนอายุ 8 ขวบครึ่ง เราถือว่าเป็นการแตกเนื้อสาวก่อนวัย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากการรับประทานยา หรือจากการสร้างฮอร์โมนผิดปรกติที่รังไข่หรือต่อมหมวกไต เป็นต้น
  2. วัยเจริญพันธุ์
    เมื่อสาวน้อยเติบโตจากวัยรุ่นเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เต้านมจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนเอสโตเจน จากรังไข่กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของหัวนม รวมทั้งท่อน้ำมันต่างๆ พร้อมกับกระตุ้นให้มีไขมันแทรกระหว่างท่อน้ำนม

    ฮอร์โมนอีกชนิดคือ โปรเจสเตอโรน ซึ่งร่างกายจะผลิตออกมาทุกเดือนตามรอบเดือน คอยกระตุ้นปลายท่อน้ำนมให้ขยายเป็นที่อยู่ของต่อมน้ำนม ซึ่งทำหน้าที่ผลิตน้ำนม ดังนั้นเวลาประจำเดือนใกล้จะมาผู้หญิงจะรู้สึกเต้านมโตขึ้นและตึงคัด จวบจนเมื่อประจำเดือนมาก็จะเป็นช่วงที่เต้านมคลายความตึงตัวลง

    ผู้หญิงในวัยประมาณ 25 ปีหรือที่พ้นวัยรุ่นไปแล้ว ถือว่าเต้านมเจริญเติบโตเต็มที่เรียบร้อย เว้นแต่ต่อมน้ำนมยังไม่เจริญและสร้างน้ำนมเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงในวัยเจริญพันธุ์ ถ้าไม่มีการตั้งครรภ์เลย เต้านมก็จะเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ตามรอบของประจำเดือนทุกเดือนเช่นนี้เรื่อยไปประมาณ 20 - 25 ปี จนเริ่มเข้าสู่วัยทอง
  3. ช่วงตั้งครรภ์และให้นมลูก
    ในระหว่างที่มีการตั้งครรภ์ ตั้งแต่เริ่มมีการปฏิสนธิ ฮอร์โมนจากรกที่เริ่มก่อตัวจะเป็นตัวสำคัญที่กระตุ้นรังไข่ให้มีการหลั่งฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะกระตุ้นให้เต้านมจากขนาดปรกติให้เริ่มขยายขึ้น โดยเฉพาะต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมที่มีอยู่ประมาณ 15-20 ท่อจะแตกตัวขึ้นมาก รวมทั้งหัวนมจะมีสีเข้มขึ้น มองเห็นเส้นสีคล้ำๆ รอบๆ นม เพื่อให้เต้านมอยู่ในสภาพพร้อมที่จะเป็นคุณแม่อย่างสมบูรณ์

    จนกระทั่งหลังคลอด เมื่อลูกเริ่มดูดนมแม่ การดูดนมจะเป็นตัวกระตุ้นต่อมใต้สมองให้มีการสร้าง ฮอร์โมนโปรแลคติน มากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะกระตุ้นต่อมน้ำนมให้ผลิตน้ำนม และไม่ว่าเต้านมขนาดเล็กหรือใหญ่ล้วนมีน้ำนมพอๆ กัน

    ตามปรกติแล้ว ในช่วงแรกหลังคลอด เต้านมจะยังไม่สร้างน้ำนมทันที แต่จะมีน้ำคัดหลั่งที่เรียกว่า "คอลอสตรัม" หรือน้ำนมเหลือง ซึ่งถือเป็นตัวภูมิชีวิตขั้นแรกที่สร้างภูมิต้านทานให้แก่เด็กตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งหลังคลอดแล้วประมาณ 2-5 วัน น้ำนมก็จะเริ่มผลิตได้อย่างสมบูรณ์

    เมื่อลูกหยุดกินนมแม่ น้ำนมที่สร้างมาไม่ได้ถูกดูดไป ก็จะเกิดการคั่งอยู่อยู่ในกลีบต่อมน้ำนมย่อยและท่อน้ำนม จนเกิดการพองตัว ทำให้เลือดมาหล่อเลี้ยงได้น้อยลง ในที่สุดเซลล์ต่อมน้ำนมก็จะค่อยๆ ลดลงจนหมดไป แล้วเต้านมก็จะค่อยๆ เล็กลงจนเท่าขนาดก่อนตั้งครรภ์
  4. วัยทอง
    เมื่อผู้หญิงเริ่มเข้าวัยหมดประจำเดือน ระดับของฮอร์โมนหญิงหรือเอสโตรเจนจะลดลง เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน การเปลี่ยนแปลงนี้ยังรวมถึงผู้หญิงที่มีความจำเป็นต้องตัดรังไข่ออกก่อนวัยอันควร

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลต่อทั้งด้านจิตใจและสรีระร่างกาย รวมทั้งความเต่งตึงของเต้านมลดลง จนทำให้หน้าอกดูเหี่ยวและหย่อนยานได้ เพราะเมื่อฮอร์โมนเพศลดลง เต้านมในส่วนของต่อมน้ำนมจะค่อยๆ ฝ่อไปจนหมด รวมทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบๆ เส้นเลือดที่มาเลี้ยงเต้านมก็จะลดลง เหลือเพียงท่อน้ำนมเท่านั้นที่ยังคงอยู่

รู้ทันอาการผิดปรกติและโรคของ "เต้านม"

เต้านมเกิน
การมีเต้านมเกินมักพบได้บริเวณรักแร้ บางครั้งอาจพบหัวนมเกินร่วมด้วย ซึ่งพบได้ตามแนวจากรักแร้ลงมาตามท้องถึงขาหนีบ ภาวะนี้จะเห็นเด่นชัดเมื่ออายุมากขึ้น หรือในช่วงตั้งครรภ์ และมีลูก บางคนอาจมีน้ำนมไหลออกมาได้ จากการสังเกตจะพบเป็นก้อนเนื้อห้อยบริเวณรักแร้ ภาวะนี้ไม่มีอันตรายใดๆ แต่เพื่อความสวยงามก็สามารถผ่าตัดออกได้

เต้านมโตไม่เท่ากัน
เต้านมคนเราสองข้างบางครั้งก็โตไม่เท่ากันได้ แต่ส่วนใหญ่จะแตกต่างกันไม่มากนัก ความแน่นของเต้านมอาจไม่เท่ากัน ซึ่งเกิดได้เนื่องจากเนื้อเต้านมตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศได้ไม่เท่ากัน ถ้าหากความแตกต่างมากจนเห็นได้ชัดก็สามารถผ่าตัดแก้ไขได้ การผ่าตัดสามารถทำการผ่าตัดลดขนาดเต้านมลง หรือผ่าเพื่อเสริมข้างที่เล็กให้ใหญ่ขึ้น

เต้านมโตเกิน
เต้านมโตเกินมักเกิดขึ้นในวัยสาวช่วงอายุ 13-35 ปี เต้านมจะขยายโตขึ้นมากกว่าปกติ การมีเต้านมที่ใหญ่เกินมักจะมีผลทางด้านจิตใจโดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น แต่ไม่มีอันตรายใดๆ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่ถ้าเต้านมโตมากๆ จนมีผลเสียต่อร่างกาย สังเกตได้จากผลของน้ำหนักของเต้านมที่มากเกินไป ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดไหล่ หรือมีจุดอับชื้นที่ราวนมได้ ถ้ามีอาการดังกล่าวก็สามารถผ่าตัดแก้ไขให้มีขนาดเต้านมที่เล็กลง

หัวนมบอด
เป็นอาการที่หัวนมบุ๋มลงไปในเต้านม เกิดจากมีความผิดปกติในช่วงการพัฒนาของเต้านม มีการหยุดการเจริญของหัวนมก่อนกำหนด ทำให้หัวนมหดสั้น และมีเนื้อเยื่อพังผืดดึงรั้ง มีผลทำให้การดูแลทำความสะอาดลำบาก เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และที่สำคัญคือ ให้นมลูกได้ยาก เด็กจะดูดนมได้ลำบาก ในรายที่เป็นไม่มากสามารถแก้ไขได้ โดยทำการดึงนวดบ่อยๆ ตั้งแต่เมื่อรู้ว่าเริ่มตั้งครรภ์ แต่หากหัวนมบอดเกิดขึ้นภายหลังวัยสาวรุ่นให้นึกเสมอว่าอาจมีความผิดปกติที่สำคัญเกิดขึ้น และเป็นอาการเตือนให้มาปรึกษาแพทย์

การปวดเต้านมตามรอบเดือน
การปวดเต้านมตามรอบเดือนเป็นอาการที่พบได้บ่อยของสาวๆ และหลายคนมักไปพบแพทย์กันค่อนข้างเร็ว เนื่องจากเกรงว่าจะมีความผิดปกติหรือคิดว่าเป็นอาการของมะเร็งเต้านม แต่ในความเป็นจริงแล้ว มะเร็งเต้านมมักตรวจพบก้อนก่อน และมักไม่มีอาการเจ็บปวด การปวดเต้านมเพียงอย่างเดียวโดยที่ตรวจไม่พบความผิดปกติอื่นๆ อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องรับการรักษา เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ แต่ในบางครั้งถ้าอาการปวดรุนแรงจนรบกวนชีวิตประจำวันควรปรึกษาแพทย์

เนื้องอกชนิดธรรมดา หรือก้อนไฟโบรอะดีโนมา (Fibroadenoma)
ก้อนที่เต้านมนี้พบได้บ่อยในวัยรุ่น และเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นเนื้องอกธรรมดา เนื้องอกชนิดนี้เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนเพศในช่วงที่มีการพัฒนาเต้านม ปกติก้อนจะมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร อาจพบว่าโตขึ้นได้ช้าๆ และไม่มีอาการเจ็บปวด ก้อนจะมีลักษณะกลมกลิ้งไปมาได้เวลาคลำ การพบเนื้องอกชนิดนี้ถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอนแล้ว อาจไม่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดเอาก้อนออกเสมอไป เนื่องจากก้อนเนื้อนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อร้ายในภายหลัง นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่า หนึ่งในสามของก้อนที่พบยุบฝ่อลงไปได้เอง อีกหนึ่งในสามจะโตขึ้นเรื่อยๆ และอีกส่วนหนึ่งจะมีขนาดคงที่ ยกเว้นในกรณีที่ก้อนมีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร หรือมีขนาดโตขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม

ซีสต์หรือถุงน้ำที่เต้านม
เกิดขึ้นจากการกระตุ้นของฮอร์โมน เพราะในช่วงของรอบเดือนจะมีการสร้างสารน้ำต่างๆ ขึ้นในส่วนของเต้านม เมื่อมีการสร้างสารน้ำและการดูดกลับคืนไม่สมดุลกันก็จะเกิดเป็นถุงน้ำค้างอยู่ ซีสต์อาจจะมีขนาดโตขึ้นเล็กน้อย หรือหายไปได้เองตามช่วงต่างๆ ของรอบเดือน ซีสต์หรือถุงน้ำพบได้บ่อยขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น และอาจมีอาการปวดบริเวณก้อนร่วมด้วย สำหรับหลังวัยที่หมดประจำเดือนซีสต์จะค่อยๆ หายไปได้เอง แต่ถ้าพบอาการปวดร่วมด้วย หรือซีสต์มีขนาดใหญ่เพียงการใช้เข็มเจาะดูดน้ำออกก็เป็นการเพียงพอแล้ว ส่วนในกรณีน้ำที่ดูดออกมามีเลือดปนก็จะถูกส่งไปตรวจเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเซลล์ที่ผิดปกติร่วมอยู่ด้วย

มะเร็งเต้านม
มักจะพบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันยังพบได้ในผู้ที่มีอายุน้อยลงเพิ่มมากขึ้น อาการที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การคลำพบก้อน ไม่มีอาการปวดหรือเจ็บ หากตรวจพบมะเร็งได้ในระยะเริ่มแรก จะมีโอกาสหายขาดสูงมาก นอกจากนี้อาการผิดปกติอื่นๆ ที่อาจจะพบร่วมด้วย ได้แก่ การมีน้ำหรือเลือดออกจากหัวนม มีแผลที่ลานหัวนม หัวนมบุ๋ม ผิวหนังของเต้านมบวมหรือถูกดึงรั้ง ก้อนที่มีขนาดโตขึ้นและไม่เจ็บ ก้อนอาจคลำได้ไม่ชัดเจน หรือพบก้อนที่รักแร้ร่วมด้วย เป็นต้น

หากตรวจพบความผิดปรกติหรือโรคต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคเพิ่มเติมและทำการรักษาต่อไป แต่ทางที่ดีที่สุดสำหรับผู้หญิงทุกคนคือ การรู้จักหมั่นตรวจสอบสภาพร่างกายและดูแลเต้านมของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา ชีวจิต

Link หน้านี้ : http://variety.hunsa.com/index.php?page=view&id=1167

-------------------------------------------

Post เรื่องราวของสุขภาพเรื่องแรก ก็เป็นเรื่องหน้าอกหน้าใจของสาวๆ ซะแระ

หวังว่าผู้ที่เข้ามาอ่าน คงไม่คิดว่าผมโรคจิตหรอกนะ เหอๆๆๆ


Powered by ScribeFire.

Friday, October 12, 2007

แพทย์เตือนดื่ม "นมไฮแคลเซียม" เปล่าประโยชน์-สูญเงิน

ประธาน มูลนิธิโรคกระดูกพรุนฯ เผย "นมไฮแคลเซียม" ไม่มีผลช่วยเสริมกระดูกมากกว่านมสดธรรมดา เตือนประชาชนเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ระบุการสะสมแคลเซียมควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก

ศ.กิตติคุณ นพ.เสก อักษรานุเคราะห์
ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย และประธานมูลนิธิโรคกระดูกพรุนในพระอุปถัมภ์ฯ เปิดเผยว่า ถึงแม้นมจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย และเป็นแหล่งแคลเซียมซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับการเสริมสร้างกระดูก ให้แข็งแรง แต่นมไฮแคลเซียม (Hi Calcium) กลับไม่มีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างกระดูกให้มากขึ้นกว่านมสดธรรมดา

การ ดื่มนมไฮแคลเซียมในขณะท้องว่าง ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมผงที่ผสมอยู่ในนมได้ เนื่องจากไม่มีน้ำกรดช่วยในการดูดซึม แต่ถ้าดื่มนมไฮแคลเซียมพร้อมกับรับประทานอาหาร น้ำกรดที่หลั่งออกมาจะถูกน้ำนมซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง ลดความเป็นกรดลง ทำให้กระบวนการย่อยดูดซึมแคลเซียมผงที่เติมลงไปในนมไม่สามารถละลาย และแตกตัวเป็นแคลเซียมอิสระได้ ฉะนั้น การดื่มนมไฮแคลเซียมจึงไม่ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายได้รับแคลเซียมเพิ่มขึ้น และยังเป็นการเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์

ดังนั้น การรับประทานแคลเซียมเสริม จึงไม่ควรรับประทานมื้อเดียวกับนม แคลเซียมเสริมจะต้องรับประทานแยกกับนมคน ละมื้อ ไม่ควรอยู่ในมื้อเดียวกันโดยเด็ดขาด

ศ.กิตติคุณ นพ.เสก กล่าวเพิ่มเติมว่า ความต้องการแคลเซียมของแต่ละวัยแตกต่างกัน ในวัยเด็ก ควรได้รับปริมาณแคลเซียมประมาณ 600 มก.ต่อวัน ในวัยรุ่นควรได้รับประมาณ 1,000-1,500 มก.ต่อวัน ส่วนในวัยผู้ใหญ่ต้องการประมาณ 800-1,000 มก.ต่อวัน ขณะที่หญิงตั้งครรภ์ต้องการแคลเซียมสูงถึง 1,500 มก.ต่อวัน และผู้สูงอายุในวัยทอง ต้องการปริมาณแคลเซียมมากที่สุด เฉลี่ยประมาณ 1,500-2,000 มก.ต่อวัน ฉะนั้น การสะสมปริมาณแคลเซียมควรเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็ก ทำได้โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ข้าว ถั่ว ผัก ผลไม้ และดื่มนมวันละประมาณ 2 แก้วๆ ละ 250 มล. ซึ่งร่างกายจะได้รับแคลเซียมประมาณ 500-600 มก.จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง

หากต้องการรู้เรื่องการดูแลรักษาโรคข้อที่ถูกวิธี รวมทั้งการออกกำลังกายและการดื่มนมหรือรับประทานแคลเซียมเพื่อช่วยป้องกัน โรคกระดูกพรุนให้ได้ผล ขอเชิญร่วมงานสัมมนาของมูลนิธิโรคข้อ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับมูลนิธิโรคกระดูกพรุนในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2550 นี้ ณ ห้องประชุม อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้นที่ 11-12 โรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่ 7.30 - 15.30 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

นพ.พงษ์ศักดิ์ วัฒนา ประธานมูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์ฯ และศ.กิตติคุณ นพ.เสก อักษรานุเคราะห์ ประธานมูลนิธิโรคกระดูกพรุนฯนำทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อและกระดูกสาขา ต่างๆ พบปะประชาชน โดยมี พ.ต.อ.นพ.ธนา ธุระเจน รศ.นพ.อรรถฤทธิ์ ศฤงคไพบูลย์ นพ.วัลลภ สำราญเวทย์ นพ.อนันต์ เศรษฐภักดี รศ.พญ.วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล พล.ต.หญิง รศ.พญ. พรฑิตา ชัยอำนวย และพ.ท.นพ.สุรวุฒิ ปรีชานนท์ มาร่วมให้ความรู้

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9500000116475


Powered by ScribeFire.

Wednesday, October 10, 2007

สเต็มเซลล์

สเต็มเซลล์ (stem cell) หรือ “เซลล์ต้นกำเนิด” เป็นวิธีการหนึ่งในการบำบัดรักษาโรค โดยเซลล์ต้นกำเนิด สามารถแบ่งตัวได้เซลล์ ใหม่ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนเดิม และเจริญเติบโตเป็นเซลล์ต่างๆได้หลายชนิด

เซลล์ต้นกำเนิด จำแนกชนิดได้เป็น เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน (embryonic stem cell) กับเซลล์ ต้นกำเนิดผู้ใหญ่ (adult stem cell) ในปัจจุบันสามารถนำไปใช้บำบัดโรคได้บางโรคเท่านั้น แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีโรงพยาบาลบางแห่งโฆษณาว่ามีการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคอื่นๆด้วย ดังนั้น ในฐานะผู้บริโภค จึงควรจะต้องทราบข้อมูลที่สำคัญต่อไปนี้ไว้ กล่าวคือ

คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการประชุมการกำกับดูแลสเต็มเซลล์ ครั้งที่ 1/2550 เกี่ยวกับการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่ใช้ในการวิจัยและรักษาโรค มีใจความสำคัญว่า

เซลล์ต้นกำเนิดเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ ในการบำบัดรักษาโรค แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับ ในเบื้องต้นเฉพาะเรื่องการปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อ รักษาโรคบางโรค เช่น มะเร็งเม็ดเลือด ส่วน การรักษาโรคอื่นๆด้วยเซลล์ต้นกำเนิดยังอยู่ในขั้นตอน วิจัยและพัฒนา เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการรักษา รวมทั้งยังต้องมีการติดตามประเมินผลความปลอดภัย

ที่ประชุมคณะทำงานฯ มีความเห็นร่วมกันในเบื้องต้นว่า
  1. ในการกำกับดูแลเซลล์ต้นกำเนิดและการใช้เซลล์ต้นกำเนิดในทางการแพทย์ จำเป็นต้องใช้กฎหมายหลายฉบับร่วมกันอย่างบูรณาการ เพื่อให้สามารถดำเนินการกำกับดูแลได้ อย่างมีประสิทธิผล
  2. ขั้นตอนการวิจัยรักษาโดยเซลล์ต้นกำเนิด จำเป็นต้องอาศัยข้อกำหนด ข้อบังคับในขั้นตอนการวิจัยเข้ามาดูแล แต่เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีพระราชบัญญัติการวิจัยทดลองในมนุษย์ จึงได้อาศัยข้อกำหนดนานา ชาติในเรื่องจริยธรรมการวิจัยในคนมาปรับใช้ ซึ่งต้องยึดถือข้อกำหนดในเรื่องนี้อย่างเคร่งครัด
  3. การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย ในอนาคตอันใกล้อาจมีการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด โดยต้องศึกษากระบวนการวิธีโดยการเตรียมเซลล์ และการให้ผลในสัตว์ทดลอง และการทดสอบทุกขั้นตอนในมนุษย์ ทั้งในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของประชาชน จึงควรระมัดระวัง หากมีการเชิญชวนเข้าไปรักษา โดยเซลล์ต้นกำเนิดของสถานพยาบาลต่อไปในอนาคต.

ที่มา http://www.thairath.com/news.php?section=technology&content=63558


Powered by ScribeFire.

9 เทคนิค ฝึกสมองไบรท์ " โดย วนิษา เรซ ผู้วชาญด้านอัจฉริยภาพจาก ม.ฮาร์วาร์ด

โดย วนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพจาก ม.ฮาร์วาร์ด เป็นเจ้าของโรงเรียนและ สถาบันอัจฉริยะสร้างได้ http://www.geniuscreator.com/GFam.htm ผู้หญิงสมัยนี้ อยากสวย ฉลาด และสุขภาพดี ทุกคนจึงพากันดูแลรูปร่าง ด้วยการออกกำลังกายเคร่งครัดเรื่องอาหารการกิน แต่ไม่เคยมีใครสนใจว่าจะดูแลสมองอย่างไรให้มีสุขภาพดี ทั้งที่สมองเป็นอวัยวะที่ตัดสินใจทุกเรื่องของชีวิต เราจึงควรเอกเซอร์ไซส์สมองให้ไบรท์ด้วยเทคนิคง่าย ๆ ต่อไปนี้
  1. จิบน้ำบ่อยๆ สมองประกอบด้วยน้ำ 85% เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมอง เหี่ยว ซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือ คิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ
  2. กินไขมันดี คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไข มันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น
  3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ (ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน
  4. ใส่ความตั้งใจ การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิด ระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้น ทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน
  5. หัวเราะและยิ้มบ่อยๆ ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็น การกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ
  6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีน ซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
  7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง
  8. เขียนบันทึก Graceful Journal ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์
  9. ฝึกหายใจลึกๆ สมองใช้ออกชิเจน 20 25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่ สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20% การมีสมองที่ดีก็เ! หมือนทักษะทุกอย่างในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม


Powered by ScribeFire.

Tuesday, October 9, 2007

เมื่อคุณหมอไม่รู้จักอาหารเสริมบำบัดโรค... ความตายอาจกำลังครอบงำคุณ


หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงเรื่องของสาเหตุของการเกิดโรคที่ไม่ใช่โรค (โรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่ายกาย ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคต่างๆ) ซึ่งผู้เขียน ต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ถึงเรื่องต่างๆดังนี้
  1. รู้ว่าทำไมปริมาณอาหารที่สำคัญต่อร่างกายตามที่ทางการสหรัฐฯ ได้ กำหนดไว้ (RDA) นั้นไม่สามารถปกป้องคุณให้พ้นจากโรคได้ และหนังสือ เล่มนี้จะช่วยให้คุณรู้ว่าปริมาณเท่าใดของสารอาหารที่พอเพียง
  2. รู้ว่าการสลายตัวของออกซิเจนในร่างกายของคุณสามารถทำร้ายร่างกายได้อย่างไร และคุณจะสามารถแก้ไขได้อย่างไร
  3. รู้ว่าจะสามารถจัดการกับโรคภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ และการติดเชื้อของไซนัส ได้อย่างไร
  4. รู้ว่ายาแผนปัจจุบันที่แพทย์สั่งให้ผู้ป่วยนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดในการ รักษาโรคแห่งความเสื่อมเรื้อรัง
ซึ่งเมื่ออ่านแล้ว ผู้อ่านจะได้สามารถดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้อย่างถูกต้อง

หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วๆไป หรือที่ ซีเอ็ด