ช่วงเวลาแห่งการให้นมเป็นช่วงเวลาที่สุดวิเศษของแม่และลูก แต่ก่อนจะให้นมลูกจะรู้ไหมนะว่าก่อนหน้านี้แม่เกิดอาการคัดหน้าอกมาก่อน
เข้าใจเรื่องน้ำนมคัด
อาการน้ำนมคัดเป็นอาการบอกว่าการผลิตน้ำนมนั้นดีเหลือล้น แต่มีการระบายออกน้อยกว่าที่ผลิต จึงทำให้น้ำนมที่ผลิตออกมาแล้วเหลือค้างอยู่ในเต้าจนเกิดอาการคัดขึ้นมาแล้วที่เต้านมบวมตึงก็เพราะเต้านมก็เหมือนส่วนอื่นๆ ที่อาจมีอาการบวมตึงได้เมื่อการไหลเวียนของระบบเลือดและน้ำเหลืองไม่ดี คุณแม่ลองนึกถึงเต้านมที่มีน้ำนมเต็มหนักอึ้ง น้ำเหลืองและเลือดจะบวมคั่ง
สาเหตุที่คัดหน้าอกก็เพราะ...
การปล่อยให้น้ำนมคั่งค้างอยู่ในเต้านมนาน ผลที่เกิดขึ้นคือจะทำให้เต้านมผลิตน้ำนมลดลง เพราะระบบการผลิตในร่างกายจะอ่านค่าว่า ผลิตน้ำนมมากเกินไปจนเกินกำลังจะใช้แล้วจึงให้น้ำนมผลิตน้อยลงเรื่อยๆ
ดูแลอย่างไรดีเมื่อหน้าอกคัด
ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่มักจะรู้สึกคัดหน้าอกในช่วงวันที่7-14 หลังคลอดค่ะ เพราะระยะแรกน้ำนมยังค่อยๆ เพิ่มการผลิตทีละน้อย มีทริกไม่ให้คัดหน้าอกคือ
เข้าใจเรื่องน้ำนมคัด
อาการน้ำนมคัดเป็นอาการบอกว่าการผลิตน้ำนมนั้นดีเหลือล้น แต่มีการระบายออกน้อยกว่าที่ผลิต จึงทำให้น้ำนมที่ผลิตออกมาแล้วเหลือค้างอยู่ในเต้าจนเกิดอาการคัดขึ้นมาแล้วที่เต้านมบวมตึงก็เพราะเต้านมก็เหมือนส่วนอื่นๆ ที่อาจมีอาการบวมตึงได้เมื่อการไหลเวียนของระบบเลือดและน้ำเหลืองไม่ดี คุณแม่ลองนึกถึงเต้านมที่มีน้ำนมเต็มหนักอึ้ง น้ำเหลืองและเลือดจะบวมคั่ง
สาเหตุที่คัดหน้าอกก็เพราะ...
- น้ำนมไม่ได้รับการถ่ายออกจาเต้านม ซึ่งอาจจะเกิดจากแม่ให้ลูกกินนมไม่บ่อยพอ หรืออีกกรณีคือลูกไม่ได้กินนมจากเต้า มีการศึกษาพบว่าระยะเวลาที่ลูกดูดนมจากเต้าในวันแรกๆ ยิ่งดูดนานาแม่จะมีอาการเจ็บเต้านมน้อยกว่าคนที่ให้ลูกดูดน้อยกว่าด้วยค่ะ
- แม่มีเต้านมขนาดเล็ก ปริมาณน้ำนมที่เพิ่มขึ้นเร็วจะทำให้เกิดอาการเต็มเต้าได้เร็วกว่าแม่ที่มีเต้านมขนาดใหญ่
- คุณแม่ท้องแรก จะมีอาการคัดหน้าอกมากกว่าคุณแม่ที่เคยผ่านการมีลูกมาแล้ว
- แม่ถูกแยกจากลูกในวันแรกๆ หลังคลอด เพราะลูกไมได้ดูดนมเอา Colosteum จากแม่ให้ระบายออกไปบ้าง ในขณะที่เต้านมมีเลือดมาเลี้ยงมากในสองสามวันแรกหลังคลอดหรือมีการเว้นช่วงการให้กินนมนานเกินไป เช่น ลูกหลับนาน หรือแม่ทำธุระอยู่ไม่สามารถให้นมหรือบีบน้ำนมออกได้เป็นเวลานานกว่า 4-5 ชั่วโมง
- ท่าทางการอุ้มและการดูดของลูกไม่ถูกต้อง ท่าทางการอุ้มรวมถึงลักษณะการดูดนมของลูก มีส่วนทำให้ไม่สามารถขับน้ำนมออกได้เต็มที่ด้วยค่ะ
การปล่อยให้น้ำนมคั่งค้างอยู่ในเต้านมนาน ผลที่เกิดขึ้นคือจะทำให้เต้านมผลิตน้ำนมลดลง เพราะระบบการผลิตในร่างกายจะอ่านค่าว่า ผลิตน้ำนมมากเกินไปจนเกินกำลังจะใช้แล้วจึงให้น้ำนมผลิตน้อยลงเรื่อยๆ
ดูแลอย่างไรดีเมื่อหน้าอกคัด
ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่มักจะรู้สึกคัดหน้าอกในช่วงวันที่7-14 หลังคลอดค่ะ เพราะระยะแรกน้ำนมยังค่อยๆ เพิ่มการผลิตทีละน้อย มีทริกไม่ให้คัดหน้าอกคือ
- ให้ลูกกินนมบ่อยขึ้น ช่วงอาทิตย์แรกคุณแม่ควรให้ลูกกินนมอย่างน้อย 8 ครั้งต่อวัน โดยไม่จำกัดเวลาในการดูดนม ให้กินจนอิ่มทั้งกลางวันและกลางคืน ในเด็กเล็กเดือนแรกๆ ยังต้องตื่นบ่อยเพราะกระเพาะยังจุน้ำนมได้น้อยอยู่ อาจจะให้ลูกกินนมทุก 2-3 ชั่วโมง หรืออย่าให้ห่างกว่า 4 ชั่วโมงในช่วงเดือนแรก เมื่อใดที่รู้สึกว่าเต้านมหนักตึงก็ลองให้ลูกดูดนมเพื่อช่วยให้ได้ระบายน้ำนา กรณีที่คุณแม่ปั๊มน้ำนมให้ลูกกินก็ต้องทำเหมือนกันคืออย่างน้อยทุก 3-4 ชั่วโมงต้องมีการระบายน้ำนมค่ะ
- ประคบร้อน ใช้ในกรณีที่เต้านมยังคงนิ่มอยู่บ้าง ไม่บวมจนแข็งมาก อุปกรณ์ที่ใช้ประคบอาจเป็นผ้าเปียกน้ำร้อนหมาดๆ สำหรับคุณแม่ที่ไม่ชอบเปียกแฉะอาจใช้ถุงผ้าใส่เมล็ดข้าวสารหรือเมล็ดถั่ว ที่ถูกทำให้ร้อนโดยไมโรคเวฟหรือการคั่วเผา บางคนอาจใช้ผ้าขาวบางห่อข้าวเหนียวหุงร้อนๆ ประคบสัก 5-10 นาที ก่อนให้นมลูก น้ำอุ่นจากฝักบัวหรือจะใช้ถุงน้ำร้อนช่วยได้เช่นกันนะคะ
- ประคบเย็น ใช้ได้ดีในการลดอาการปวดเต้านม และวิธีที่จะช่วยลดอาการบวมของเต้านมในกรณีที่บวมแข็ง ซึ่งมักพบว่าน้ำนมไม่ไหลเลย แม้จะบีบ ปั๊มก็ตาม เพราะอาการคั่งน้ำในเต้านมควรใช้ผ้าเย็นจัดหรือ Icepack วางประคบประมาณ 15-20 นาที ทำบ่อยๆ ในช่วงที่เต้านมแข็งและปวด อาจรับประทานยาแก้ปวดพวกพาราเซตามอลร่วมด้วย หรือลองใช้กะหล่ำปลีแช่เย็นวางประคบเต้านม ซึ่งมีการศึกษาพบว่าสามารถช่วยลดความเจ็บปวดเต้านมและลดอาการบวมของเต้านมลงได้ ส่วนแพทย์แผนไทยเขาใช้ใบพลูจะเป็นแบบสดหรือเย็นก็ได้นะคะ วางบนเต้านมแล้วหมั่นเปลี่ยนบ่อยๆ ค่ะ
- บีบน้ำนมด้วยมือเบาๆ เพื่อให้ลานนมนุ่มลง เพื่อให้ลูกดูดได้ดีขึ้นคุณแม่อาจใช้ปทุมแก้วหรือสวม Breast Shells พลาสติกหนาที่มีรูเปิดสำหรับหัวนมและมีแผ่นซิลิโคนนวดที่ลานนมครอบบนเต้า เพื่อนวดลานนมให้นิ่มและกระตุ้นกลไกให้น้ำนมพุ่งสัก 30 นาทีก่อนให้นม หรืออาจจะใส่ไว้เรื่อยๆ ก็ได้เพราะน้ำนมจะสามารถไหลออกมาได้ตลอดเวลาลดอาการคั่งในเต้านม แต่ห้ามบีบน้ำนมหรือปั๊มออกจนหมดเต้ายกเว้นลูกไม่สามารถดูดนมจากเต้าจึงจะปั๊มออกทุก 3 ชั่วโมง จะช่วยบรรเทาอาการน้ำนมคั่งลงได้ค่ะ
- สวมยกทรงที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อยกทรงที่มีขอบลวดหรือคับแน่นเกินไปด้วยค่ะ
No comments:
Post a Comment