Saturday, March 22, 2008

ขิง..ความหวังใหม่ของคนเป็นโรคข้ออักเสบ

ถ้าท่านผู้อ่านลองสำรวจผู้คนที่ใกล้ชิดแล้วจะพบว่า 2 ใน 10 คน ยอมรับว่า
เขามีอาการปวดข้ออยู่ เพราะนั่นคืออุบัติการณ์ของการปวดข้อที่ดำเนินอยู่ทั่วโลก

ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคข้ออักเสบมีอาทิ เช่น
  • โรคข้ออักเสบจำแนกออกไปอีกได้กว่า 100 ชนิด แต่ที่พบบ่อยคือ
    โรคข้ออักเสบรูมา ตอยด์และข้อเสื่อม
  • มาติซึ่มเป็นศัพท์ที่ครอบคลุมอาการปวดที่เกิดกับระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือกระดูก, ข้อ, กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น ตลอดจนเนื้อเยื่อประสานที่เกี่ยวข้อง
  • โรคข้อเป็นสาเหตุอันดับที่ 2 รองจากโรคติดเชื้อที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องไปหาหมอ
  • การรักษาส่วนใหญ่เป็นไปตามอาการและปัญหาสำคัญที่เกิดจากการรักษา
    คือยาก่อ ให้เกิดอาการข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ได้มากและรุนแรง
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RHEUMATOID ARTHRITIS)

ร้อยละ 80 ของคนเป็นโรคข้ออักเสบแบบรูมาตอยด์จะมีอายุระหว่าง 30-50 ปี โดยโรคร้อยละ 70 ของคนเหล่านี้จะเป็นไปอย่างเรื้อรังและเลวลงตามลำดับ ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย 3-5 เท่า การอักเสบมักจะเริ่มขึ้นบริเวณ เยื่อหุ้มข้อ (SYNOVIAL MEMVRANE) ของข้อนิ้วมือทั้ง 2 ข้าง ทำให้มีอาการปวดบวมและข้อต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนเช้า ต่อมานาน ๆ เข้าโรคจะดำเนินต่อไปจนเป็นที่มือ, ข้อศอก, เข่า, เท้า จนมีปุ่มหรือการบิดเบี้ยวดูพิกลพิการ ความรุนแรงของแต่ละโรคจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน เช่นเดียวกับจำนวนข้อที่เป็นโรค

จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกิดจากอะไร แต่คาดว่าจะมีกลไก ซึ่งภูมิคุ้มกันของตัวเอง เกิดอ่านสัญญาณผิดพลาดอย่างไรไม่ทราบได้ หันกลับไปเล่นงาน ข้อของตัวเอง บางทัศนะก็ว่า กลไกดังกล่าว อาจเกิดจากการกระตุ้นโดยเชื้อไวรัส จะอย่างไรก็ตาม การอักเสบที่ดำเนินไปในข้อ จะส่งสัญญาณให้เม็ดเลือดขาว จากกระแสโลหิต เดินทางมาที่เยื่อหุ้มข้อ เม็ดเลือดขาว เมื่อมาถึง ก็จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา ที่เรียกว่า OXIDATIVE BURST REACTION โดยเม็ดเลือดขาวจะเปลี่ยนออกซิเจนให้เป็น อนุมูลอิสระ (FREE RADICALS) ซึ่งเป็นตัวการสร้างความเสียหาย ให้เกิดขึ้นกับข้อ รวมทั้งเกิดสาร พรอสตาแกลนดินส์ และลูโคไทรน์ อันเป็นตัวเสริมการอักเสบ และความเจ็บปวด เพิ่มขึ้น

โรคข้ออักเสบแบบข้อเสื่อม (OSTEOARTHRITIS หรือ DEGENERATIVE ARTHRITIS)
เป็นโรคข้อที่พบมากขึ้นตามอายุ โดยมีลักษณะของพยาธิสภาพตามชื่อคือ การเสื่อมสภาพ ของข้อโดย เฉพาะอย่างยิ่งส่วนกระดูกอ่อน เป็นมาก ๆ เข้าผิวของข้อที่กระดูก 2 ท่อน มาต่อกัน ก็จะเป็นตะปุ่มตะป่ำ ผิวกระดูกอ่อนแบนราบลง ช่องว่างของข้อหดแคบลง จนกระดูกมากระทบกระแทกเสียดสีกันเองโดยตรง

อุบัติการณ์ จะพบความชุกของโรคนี้เพียง 5-10%ในคนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 15-25 ปี โดยส่วนใหญ่ จะเป็นผลจากการบาดเจ็บ เช่นกระดูกหักใกล้ข้อ ส่วนในคนที่อายุสูงกว่า 55 ปี จะมีอุบัติการณ์ถึง 80%

อาการในเบื้องต้น คือ ปวดข้อและก็เลวลงตามเวลาที่ผ่านไป ข้อที่ได้รับผลกระทบมาก คือ ข้อที่แบกรับน้ำหนักตัว เช่น สะโพกและเข่า แต่ข้ออื่น ๆ ก็เป็นได้ทั่วร่างกายอย่างเช่น กระดูกสันหลังเวลาเสื่อมแล้วจะทำให้ปวดหลัง, ปวดเอว, ปวดคอและปวดไหล่ได้

ปัญหาสำคัญของคนเป็นโรคข้อเสื่อมคืออาการปวดที่เกี่ยวกับข้อซึ่งรับน้ำหนักตัวมาก ดังนั้นวิธีบรรเทาปวดอันสำคัญประการหนึ่งคือ จำกัดน้ำหนักตัวและมีการบริหารร่างกาย อยู่เป็นประจำ เช่น ขี่จักรยานหรือว่ายน้ำ

การรักษาโรคข้ออักเสบ
วิธีรักษาทั่วไป ยังคงเป็นไปตามอาการ โดยไม่มีหลักฐานว่า จะมีอิทธิพลในการย่นย่อ ระยะเวลา ของการเป็นโรคและพัฒนาการของโรคต่อไปหรือไม่
  1. ยาแก้ปวดอย่างอ่อนทั่วไป เช่น พาราเซตตามอล สำหรับกรณีที่ปวดไม่มาก
  2. ยาบรรเทาอาการอักเสบชนิดที่ไม่เข้าสารสเตียรอยด์ หรือเอ็นเสด (NONSTEROID ANTI-INFLAMMATORY DRUGSN หรือ NSAID) เป็นยากลุ่มสำคัญ เพราะว่าออกฤทธิ์ยับยั้งขั้นตอนการอักเสบของข้อ ซึ่งนำไปสู่อาการปวด ปัญหาของยากลุ่มนี้ เท่าที่ผ่านมาคือ ยาก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ของเยื่อบุ กระเพาะอาหาร จนเกิดแผล และเสียเลือดได้มาก ๆ อย่างที่ประเทศอังกฤษ เขาพบว่าร้อยละ 45 ของคนที่ใช้ยานี้ จะมีอาการข้างเคียง และเพิ่มเป็น 75% ในผู้ป่วยอายุ 65 ปีขึ้นไป โรคแทรกซ้อนจากยา มีผลทำให้ผู้คนต้องเข้าโรงพยาบาล ในสหรัฐอเมริกาถึงปีละ 70,000 คนโดยมีผู้เสียชีวิตถึง 7,000 ราย
  3. ยาสเตียรอยด์ (STEROID) ใรายที่การอักเสบรุนแรงจนยาเอ็นเสดเอาไม่อยู่ อาจ ต้องใช้สเตียรอยด์ทั้งชนิดฉีดหรือรับประทานก็ตาม โรคแทรกซ้อนจากการใช้ สเตียรอยด์นาน ๆ ก็คือ ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนและอื่น ๆ อีก
  4. ยาต้านรูมาตอยด์ชนิดออกฤทธิ์ช้า (SLOW ACTING ANTIRHEUMATOID DRUG) เช่น GOLD SALT ซึ่งอาจมีฤทธิ์ข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์คือ ผื่นขึ้น, เกร็ดเลือดต่ำ, ท้องเสีย, คลื่นไส้
ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยจึงต้องขวนขวายคิดค้นยาที่ปลอดภัยขึ้นอย่างขะมักเขม้น เมื่อต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1990 นี้เอง ได้มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ในประเทศเดนมาร์ก ที่เกิดแนวคิดตรงกันว่า น่าจะมีการนำความรู้ความเชื่อของ ผู้คนในทุกภูมิภาคของโลก เกี่ยวกับเรื่องพืชสมุนไพร แล้วใช้ความรู้แผนใหม่วิจัย เพื่อพิสูจน์ว่า ความรู้ไหน ที่ถ่ายทอดมาแล้ว ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ไหนเป็นแค่ความเชื่อ

เมื่อปี ค.ศ.1992 (2535) นักวิทยาศาสตร์หนุ่มสายชีวเคมีและเภสัชวิทยาคนหนึ่ง ของประเทศเดนมาร์ก ชื่อ ดร.มอร์เทน ไวด์เนอร์ (MORTEN WEIDNER) ได้รับทุนวิจัย และก่อตั้งสถาบันวิเคราะห์ยา (IDA) INSTITUTE OF DRUG ANALYSIS A/S) โดยได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กร สถาบันวิจัยแห่งนี้ มีนักวิทยาศาสตร์ร่วมทำงานถึง 600 คน ตั้งอยู่ในสวนวิทยาศาสตร์ ซิมเบียน (SYMBION SCIENCE PARK) ที่กรุงโคเปนเฮเกน นครหลวงของประเทศ เดนมาร์ก สถาบันวิเคราะห์ยา IDA ได้ศึกษาพืชจากทั่วโลกกว่า 100 พันธุ์ แต่ก็พบพันธุ์ที่มีผลดีในการรักษาโรคข้ออักเสบเพียงเล็กน้อย จนกระทั่งมาพบ "ขิง" ขิง ซึ่งคนไทยใช้ปรุงอาหาร และทำเครื่องดื่ม และเชื่อว่า เป็นยาบรรเทาอาการท้องอืดนั้น จัดเป็นพืชทั่วไปของทวีปเอเซีย และมีปรากฏว่า มีการใช้ในการแพทย์จีน และชมพูทวีป มากว่า 2500 ปีแล้ว โดยเชื่อว่า ใช้บรรเทาอาการปวด, อักเสบ, โรครูมาติก และอาการเมารถ เมาเรือ

ที่จริงขิงมีอยู่ทั่วโลก มากกว่า 200 สายพันธุ์ แต่ที IDA นำมาศึกษามี 100 กว่าชนิด และปรากฏเป็นชื่อของพฤกษศาสตร์ว่า ZINGIBER OFFICINALE ROSCOE
เป้าหมายของโครงการวิจัยขิงก็คือ
  1. เพื่อแสวงหาสารสำคัญในขิงที่ออกฤทธิ์ในเชิงรักษาโรค
  2. ศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของสารดังกล่าว
  3. พัฒนาวิธีการสกัดสาร (STANDARDIZED GINGER EXTRACT) เพื่อใช้ในการแพทย์
จาการวิเคราะห์สารต่าง ๆ ของขิงก็พบว่ามีสารหลัก ๆ คือ
  1. ประกอบด้วยแป้งและโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่มีฤทธิ์ทางยา
  2. น้ำมัน VOLATILE เป็นส่วนที่ได้รส (น้ำมันหอมระเหย) และกลิ่น แต่ก็ไม่มีฤทธิ์ทางยา
  3. สารประกอบฟีนอลิกคีโตน (PHENOLIC KETONE COMPOUNDS) ชื่อ HMP เป็นตัวออกฤทธิ์ทางยา
ระหว่างการศึกษาเรื่องขิง ยังได้ความรู้เพิ่มเติมอีกว่า ขิงไม่ใช่เป็นแค่ขิง และไม่ใช่ว่า ขิงจะเหมือนกันทั่วโลก เพราะแต่ละแห่ง ก็มีความต่างกัน ทั้งกลิ่น, รส และส่วนประกอบ โดยความแตกต่าง จะเป็นไปตามสภาพภูมิศาสตร์ (ที่ตั้ง) ของวัตถุดิบ เหล่านี้ และพวกนักวิจัยที่ IDA พบว่า ขิงดีที่สุดในเชิงรักษาโรค คือขิงจากตำบลหนึ่ง ในประเทศจีน ซึ่งทาง IDA ขอปิดเป็นความลับ ไม่บอกชื่อตำบลดังกล่าว

ทาง IDA ได้พัฒนาขั้นตอนการสกัดสาร HMP จากขิงอยู่ระยะหนึ่งจนได้เทคโนโลยี (SELECTIVE EXTRACTION) ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตได้กว่า 90% จากคำบอกเล่าของ ดร.ไวด์เนอร์ เขากล่าวว่า ระหว่างขั้นตอนการสกัดขิงนั้น ได้ สารจินเจอรอล (GINGEROLS) ซึ่งเป็นคำรวม เรียกสารที่ออกฤทธิ์ทางยาของขิง แต่ในกระบวนการ สกัดสาร พบว่า ได้เกิดผลที่ไม่อยากให้เกิด กล่าวคือ มี สารโชกาออล (SHOGAOLS) เกิดขึ้น ซึ่งปรากฏว่ าสารนี้ทดสอบแล้ว อาจสร้างความระคายเคืองต่อเยื่อบุของทางเดินอาหารได้ จึงต้องแก้ไขวิธีการสกัดเสียใหม่ ให้มีความละมุนละม่อม ไม่มีความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้อง

ขอขยายความตรงนี้ว่าสารสำคัญของขิงที่ว่านั้นถ้าเป็นขิงสด ๆ ก็จะได้สารดังกล่าวไปใช้ ได้เต็มที่ (HIGHLY BIOAVAILABLE FORM) แต่จะให้ได้สารเคมี ดังกล่าว ในปริมาณมากพอที่จะรักษาโรคได้ คงต้องรับประทานขิงกันวันละหลายสิบหัว ซึ่งก็คงไม่ไหวแน่ จึงต้องสกัดสารที่ว่านี้ ออกมาจากขิง ให้ได้ปริมาณเพียงพอ แต่ในกระบวนการสกัดนั้น ขั้นตอนการทำให้แห้ง และการสกัดก็ไปทำลายสารสำคัญ เสียมาก สารที่จะไปทำหน้าที่รักษาโรค ก็จะเหลือให้ใช้น้อยลง ต้องแก้ไขให้สงวน สารสำคัญไว้ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ โดยสร้างสารประกอบ "ซินาซิน" (ZINAXIN) ขึ้น แล้วจดทะเบียนลิขสิทธิ์วิธีการสกัดไว้ทั่วโลก เพราะคุณสมบัตินี้สำคัญมาก ต่อการที่จะได้ยารับใช้เราได้อย่าดีที่สุด

กลไกการออกฤทธิ์ของสารประกอบ HM-33 ก็โดยการไปสกัดกั้นสารเคมี ที่หลั่งออกมา ในร่างกาย ขณะมีการอักเสบของข้อเกิดขึ้น ขณะเดียวกัน ก็สกัดกั้นการเกิดอนุมูลอิสระ ได้ด้วย

จากคุณสมบัติที่คล้ายกับยาเอ็นเสด ยกเว้นไม่กัดกระเพาะอาหารนี่เอง ทำให้เกิดความหวัง ขึ้นมาว่า "ซินาซิน" จะเป็นยาเสริม หรือ ยาแทนที่ ยาเอ็นเสดเสียเลย วิธีที่จะทดสอบสมมุติฐานดังกล่าวได้ ก็โดยทำการทดลองรักษาจริง ๆ ในคน ซึ่งปรากฏว่า การทดลองกับคนไข้โรคข้อเสื่อม ชาวเดนมาร์ก 28 ราย ในงานวิจัยที่หนึ่ง และ 56 ราย ในงานวิจัยที่สอง ประสบความสำเร็จ ในการบรรเทาอาการปวดข้อ และปวดกล้ามเนื้อ โดยการรับประทานยาซินาซิน 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยรับประทานพร้อมกันไป กับอาหาร ในเดือนแรก ส่วนเดือนต่อไปอาจจัดขนาด 1 หรือ 2 เม็ด ตามความจำเป็น หรือตามความรุนแรง

ความเห็นของผมในฐานะแพทย์แผนปัจจุบัน คิดว่า ถ้าท่านผู้อ่านมีอาการปวดข้อขึ้นมา อย่างเฉียบพลัน ปวดบวมตามข้อมาก ควรพิจารณาใช้ยากลุ่มเอ็นเสดนำไปก่อน แล้วในระยะยาว จึงค่อยใช้ซินาซินเสริมไปด้วย หรืออาจจะแทนที่ยาเอ็นเสดไปเลยก็ได้ ส่วนคนที่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังขนาดอ่อน หรือปานกลาง ก็อาจจะพิจารณาทดลอง ใช้ยาซินาซิน ขนานเดียว หรือควบกับยาเอ็นเสดชนิดที่ไม่กัดกระเพาะอาหารมาก ก็ได้

โรคข้ออักเสบนี้มีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งคือ มีความเรื้อรัง และบ่อยครั้งดื้อยา คนไข้จึงต้องลองผิดลองถูก เปลี่ยนยาไปเรื่อย ๆ จนพบขนานที่ถูกกัน ก็สบายไปพักใหญ่ ซินาซินก็คงจะมาเป็นอีกทางเลือก สำหรับผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ

ที่มา
นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์

Powered by ScribeFire.

No comments: