จากปัญหาสุขภาพของผู้หญิงทั้งที่เป็นอาการปกติทั่วไปหรือร้ายแรง ทำให้ผู้หญิงสมัยใหม่ตื่นตัวและหันมาสนใจดูแลร่างกายตนเองมากขึ้น ด้วยการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือต่างๆ หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และในบรรดาเรื่องสุขภาพสุดฮิต ที่ผู้หญิง ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ก็ยังคงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสวยงาม โดยเฉพาะเรื่องผิวพรรณบนใบหน้า ยิ่งมีกระแสและค่านิยม ผิวหน้าขาวใส ปราศจากจุดด่างดำมากเท่าไหร่ ยิ่งเพิ่มความกังวลใจแก่สาวๆ มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ปัญหากระและฝ้า ซึ่งขึ้นชื่อว่ารักษายาก และ มีปัญหาจากการรักษาที่ไม่ได้ผลมากมายตามหน้าหนังสือพิมพ์ ทางที่ดี เราจึงควรทำความรู้จักกับปัญหาทั้งสองอย่าง ให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจทำการรักษา
สาเหตุและลักษณะของการเกิดฝ้าและกระ
กระและฝ้าเกิดจากการที่มีเม็ดสีเมลานิน (melanin pigment) สะสมในผิวหนังมากผิดปกติ ทำให้เกิดผื่นสีน้ำตาลเป็นรอยคล้ำ อย่างไรก็ตามผื่นทั้งสองจะมีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
กระ มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดมักเล็กกว่า 0.5 ซม. พบกระจายอยู่บริเวณใบหน้าและผิวหนังที่ถูกแสงแดดเป็นประจำ เชื่อว่าอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรมร่วมด้วย เริ่มพบได้ตั้งแต่วัยเด็ก จากนั้นจะค่อยๆ มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและสีเข้มขึ้น
สำหรับฝ้า พบบ่อยในสุภาพสตรีวัยกลางคน มีลักษณะเป็นผื่นสีน้ำตาล พบบริเวณแก้ม จมูก หน้าผาก เหนือริมฝีปากด้านบนและคาง ผื่นมักมีสีคล้ำขึ้นเมื่อถูกแสงแดด เราสามารถแบ่งชนิดของฝ้าได้เป็นสามชนิด
สาเหตุของการเกิดฝ้านั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะมีปัจจัยหลายอย่างร่วมกันได้แก่ แสงแดด ฮอร์โมน ยา การแพ้เครื่องสำอาง ตลอดจนพันธุกรรม สำหรับแสงแดดมีส่วนประกอบของรังสีอัลตร้าไวโอเลตชนิด A (UVA) และชนิด B (UVB) รังสีทั้งสองชนิด เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้น ในส่วนของฮอร์โมนเชื่อว่าฮอร์โมนเพศชนิดเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) มีผลทำให้เกิดฝ้า โดยสังเกตพบว่าฝ้าจะเป็นมากขึ้นในสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือสตรีที่ตั้งครรภ์ และฝ้ามักจะจางลงภายหลังหยุดยาคุมกำเนิดหรือหลังคลอดบุตร นอกจากนั้นการรับประทานยาบางชนิดอาจมีส่วนทำให้ฝ้ามีสีคล้ำขึ้นเช่น ยากันชักชนิด diphenylhydantoin เป็นต้น สำหรับการแพ้เครื่องสำอางอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดฝ้าได้ โดยเฉพาะการแพ้น้ำหอมหรือสีที่ผสมอยู่ในเครื่องสำอางนั้นๆ
วิธีการรักษากระและฝ้า
อันดับแรกต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า กระและฝ้าส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทั้งนี้เพราะเรา ไม่ทราบสาเหตุ ต้นกำเนิดที่แท้จริง การรักษามุ่งเน้นหลักสำคัญสองประการคือ หลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัจจัยที่จะมากระตุ้นให้กระหรือฝ้าเป็นมากขึ้น ร่วมกับการพยายามรักษาให้รอยคล้ำนั้นจางลง ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิด หรือยาอื่นๆ ที่อาจทำให้รอยคล้ำนั้นเป็นมากขึ้น การหลีกเลี่ยงการตากแดดเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นต้องใช้ครีมกันแดดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ การเลือกครีมกันแดดจะต้องเลือกใช้ชนิดที่เหมาะสมกับปัญหาของตัวเรา
ในกรณีที่มีปัญหากระหรือฝ้าควรเลือกครีมกันแดดที่สามารถป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB สำหรับค่า SPF (Sun Protection Factor) ควรมีค่าประมาณ 15 ถึง 30 หรือสูงกว่าขึ้นไป อย่างไรก็ตามครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ บางชนิดอาจมีลักษณะข้นเหนียว ทำให้รู้สึกเหนอะหนะไม่น่าใช้ รวมทั้งอาจทำให้เกิดสิวง่ายขึ้น ควรทาครีมกันแดดทุกวัน และถ้าจำเป็นต้องตากแดด ควรทาครีมกันแดดวันละสองครั้งหรือมากกว่า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ว่าครีมกันแดดบนผิวหน้ายังมีปริมาณ ที่เพียงพอต่อการป้องกันแสงแดด มิได้จางหายไปกับเหงื่อที่มักจะถูกซับด้วยกระดาษหรือผ้าเช็ดหน้าอยู่เสมอ ในกรณีที่มีสภาพผิวหน้าแบบผิวมันเป็นสิวง่าย ควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่เป็นสูตร Non-comedogenic หรือ สูตร water-based และควรอยู่ในรูปของเจลหรือโลชั่นจะเหมาะสมกว่าในรูปของครีม
ส่วนการรักษาให้รอยคล้ำจากกระและฝ้าจางลงมีได้หลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป วิธีที่ง่ายและสะดวกคือการรักษาด้วยการทายา ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือยาทาที่ใช้ในการรักษานั้นแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ ได้แก่
นอกจากนี้การใช้ยาทาหรือยารับประทานปัจจุบันยังมีการรักษากระและฝ้าโดยอาศัยเครื่องมือและเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษามากขึ้น เช่น
จากที่ได้รวบรวมมาทั้งหมดจะพบว่า การรักษาฝ้าและกระยังมีข้อจำกัดอยู่มาก เนื่องจากเรายังไม่ทราบสาเหตุของปัญหาอย่างชัดเจน การแก้ปัญหาส่วนใหญ่เป็นการแก้ไข ที่ปลายเหตุทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากนั้นการรักษา แต่ละชนิดล้วนแล้วแต่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้นการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาจึงควรทำด้วยความระมัดระวัง... ทางที่ดีควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ต้องร่วมป้องกันปัจจัย ที่จะกระตุ้นการเกิดกระและฝ้า การรักษาจึงจะได้ผลดี
นพ.จินดา โรจนเมธินทร์
ที่มา นิตยสาร Health Today
สาเหตุและลักษณะของการเกิดฝ้าและกระ
กระและฝ้าเกิดจากการที่มีเม็ดสีเมลานิน (melanin pigment) สะสมในผิวหนังมากผิดปกติ ทำให้เกิดผื่นสีน้ำตาลเป็นรอยคล้ำ อย่างไรก็ตามผื่นทั้งสองจะมีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
กระ มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดมักเล็กกว่า 0.5 ซม. พบกระจายอยู่บริเวณใบหน้าและผิวหนังที่ถูกแสงแดดเป็นประจำ เชื่อว่าอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรมร่วมด้วย เริ่มพบได้ตั้งแต่วัยเด็ก จากนั้นจะค่อยๆ มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและสีเข้มขึ้น
สำหรับฝ้า พบบ่อยในสุภาพสตรีวัยกลางคน มีลักษณะเป็นผื่นสีน้ำตาล พบบริเวณแก้ม จมูก หน้าผาก เหนือริมฝีปากด้านบนและคาง ผื่นมักมีสีคล้ำขึ้นเมื่อถูกแสงแดด เราสามารถแบ่งชนิดของฝ้าได้เป็นสามชนิด
- ฝ้าที่เกิดในบริเวณหนังกำพร้า มีลักษณะเป็นผื่นสีน้ำตาลเข้ม บริเวณขอบเขตของผื่นจะเห็นชัด ฝ้าชนิดนี้ค่อนข้างตอบสนองดีต่อการรักษาเนื่องจากเม็ดสีเมลานินอยู่ไม่ลึกในผิวหนังจึงง่ายต่อการกำจัด
- ฝ้าที่อยู่ในชั้นหนังแท้ ผื่นฝ้าจะเป็นสีน้ำตาลผสมสีเทาเข้ม ขอบเขตจะเห็นไม่ชัดเจน เนื่องจากเม็ดสีเมลานินอยู่ในระดับที่ลึกมากขึ้น มีผลทำให้รักษาค่อนข้างยาก ตอบสนองไม่ดีต่อการรักษา
- ฝ้าชนิดผสม มีเม็ดสีเมลานินสะสมมากผิดปกติทั้งในชั้นหนังแท้และหนังกำพร้า การแยกชนิดของฝ้านั้นจะมีประโยชน์ต่อการรักษา ทำให้สามารถประเมินได้ว่าจะรักษาได้ผลดีมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตามการตรวจด้วยสายตาอาจมีข้อจำกัด บางครั้งอาจต้องใช้กล้องแสงอัลตราไวโอเลต (UV Camera) ช่วยในการจำแนกชนิดของฝ้า
สาเหตุของการเกิดฝ้านั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะมีปัจจัยหลายอย่างร่วมกันได้แก่ แสงแดด ฮอร์โมน ยา การแพ้เครื่องสำอาง ตลอดจนพันธุกรรม สำหรับแสงแดดมีส่วนประกอบของรังสีอัลตร้าไวโอเลตชนิด A (UVA) และชนิด B (UVB) รังสีทั้งสองชนิด เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้น ในส่วนของฮอร์โมนเชื่อว่าฮอร์โมนเพศชนิดเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) มีผลทำให้เกิดฝ้า โดยสังเกตพบว่าฝ้าจะเป็นมากขึ้นในสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือสตรีที่ตั้งครรภ์ และฝ้ามักจะจางลงภายหลังหยุดยาคุมกำเนิดหรือหลังคลอดบุตร นอกจากนั้นการรับประทานยาบางชนิดอาจมีส่วนทำให้ฝ้ามีสีคล้ำขึ้นเช่น ยากันชักชนิด diphenylhydantoin เป็นต้น สำหรับการแพ้เครื่องสำอางอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดฝ้าได้ โดยเฉพาะการแพ้น้ำหอมหรือสีที่ผสมอยู่ในเครื่องสำอางนั้นๆ
วิธีการรักษากระและฝ้า
อันดับแรกต้องทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า กระและฝ้าส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทั้งนี้เพราะเรา ไม่ทราบสาเหตุ ต้นกำเนิดที่แท้จริง การรักษามุ่งเน้นหลักสำคัญสองประการคือ หลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัจจัยที่จะมากระตุ้นให้กระหรือฝ้าเป็นมากขึ้น ร่วมกับการพยายามรักษาให้รอยคล้ำนั้นจางลง ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิด หรือยาอื่นๆ ที่อาจทำให้รอยคล้ำนั้นเป็นมากขึ้น การหลีกเลี่ยงการตากแดดเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นต้องใช้ครีมกันแดดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ การเลือกครีมกันแดดจะต้องเลือกใช้ชนิดที่เหมาะสมกับปัญหาของตัวเรา
ในกรณีที่มีปัญหากระหรือฝ้าควรเลือกครีมกันแดดที่สามารถป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB สำหรับค่า SPF (Sun Protection Factor) ควรมีค่าประมาณ 15 ถึง 30 หรือสูงกว่าขึ้นไป อย่างไรก็ตามครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ บางชนิดอาจมีลักษณะข้นเหนียว ทำให้รู้สึกเหนอะหนะไม่น่าใช้ รวมทั้งอาจทำให้เกิดสิวง่ายขึ้น ควรทาครีมกันแดดทุกวัน และถ้าจำเป็นต้องตากแดด ควรทาครีมกันแดดวันละสองครั้งหรือมากกว่า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ว่าครีมกันแดดบนผิวหน้ายังมีปริมาณ ที่เพียงพอต่อการป้องกันแสงแดด มิได้จางหายไปกับเหงื่อที่มักจะถูกซับด้วยกระดาษหรือผ้าเช็ดหน้าอยู่เสมอ ในกรณีที่มีสภาพผิวหน้าแบบผิวมันเป็นสิวง่าย ควรเลือกใช้ครีมกันแดดที่เป็นสูตร Non-comedogenic หรือ สูตร water-based และควรอยู่ในรูปของเจลหรือโลชั่นจะเหมาะสมกว่าในรูปของครีม
ส่วนการรักษาให้รอยคล้ำจากกระและฝ้าจางลงมีได้หลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป วิธีที่ง่ายและสะดวกคือการรักษาด้วยการทายา ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือยาทาที่ใช้ในการรักษานั้นแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ ได้แก่
- กลุ่มที่เร่งการขจัดเซลล์หนังกำพร้า มีผลทำให้เม็ดสีเมลานินถูกกำจัดออกไปได้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดผลไม้ หรือ Alphahydroxy acid (AHA) และกรดวิตามินเอ เป็นต้น
- กลุ่มยาหรือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีผลลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน เช่น ยาไฮโดรคิวโนน (Hydroquinone) กรดโคจิค (Kojic acid) หรือเจลวิตามินซี ผลการรักษาจะต้องใช้ระยะเวลา 4 ถึง 8 สัปดาห์จึงเห็นการเปลี่ยนแปลง และมักได้ผล ในกรณีที่ฝ้าเกิดในชั้นหนังกำพร้า ส่วนกระอาจจะจางลงได้บ้าง ข้อควรระวังคือใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ มิฉะนั้นอาจทำให้ เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการหน้าลอกเป็นขุย แสบแดง ระคายเคือง ทำให้คล้ำมากกว่าเดิมหรือาจเกิดเป็นด่างขาวได้ ดังนั้นยาทาบางชนิดควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น กรดวิตามินเอ หรือยาทาไฮโดรคิวโนน ส่วนผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอางนั้นมักจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า แต่ในขณะเดียวกันผลลัพธ์ที่ได้ก็มักจะน้อยกว่าด้วยเช่นกัน นอกจากนั้น ยังมีการนำยารับประทานชนิด Tranxemic acid ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ทำให้บริเวณ ที่กำลังมีเลือดไหลออก มานั้นหยุดได้เร็วขึ้น มาประยุกต์ใช้รักษาฝ้าเนื่องจากยาชนิดนี้สามารถลดการสร้างเม็ดสีในผิวหนัง มีผลทำให้ฝ้าจางลงบ้างในบางราย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยเป็นที่ยืนยันอย่างชัดเจน นอกจากนั้นยังต้องรับประทานยาระยะยาวจึงจะเห็นผล จึงควรต้องระวัง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเช่น ภาวะหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดดำเกิดการอุดตัน ซึ่งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต
นอกจากนี้การใช้ยาทาหรือยารับประทานปัจจุบันยังมีการรักษากระและฝ้าโดยอาศัยเครื่องมือและเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษามากขึ้น เช่น
- วิธีกรอผิวชนิด Microdermabrasion (เครื่องกรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีผู้นำมาใช้ในการรักษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการขจัดเซลล์ชั้นหนังกำพร้าให้ลอกหลุดเร็วขึ้น ได้ผลสำหรับฝ้าและกระที่อยู่ในชั้นตื้นๆ ข้อควรระวังคืออาจทำให้ผิวเกิดการระคายเคืองง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ากำหนดระดับความแรง ในการทำงานของ เครื่องมือสูงมากเกินไป อาจทำให้เกิดบาดแผลถลอก และมีเลือดออกได้ ส่วน
- การรักษาด้วยเครื่องไอออนโตฟอรีซิส อาศัยหลักการให้กำเนิดกระแสไฟฟ้าในระดับอ่อนๆ และมีผลช่วยผลักยา หรือวิตามิน ที่เราทาไว้ก่อนบนผิวหน้าให้ซึมผ่านผิวหนังเข้าไปได้เพิ่มมากขึ้นหรือออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้น การรักษาด้วยวิธีนี้มีผลข้างเคียงน้อย อาจมีอาการระคายเคืองได้บ้างแต่มักไม่รุนแรง อย่างไรก็ตามผลการรักษายังไม่ได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์ว่าได้ผลดีอย่างชัดเจน
- สำหรับเทคโนโลยีของเลเซอร์และเครื่องให้กำเนิดแสงความเข้มสูง (Intense Pulsed Light หรือ IPL) เป็นการรักษาที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน ถึงแม้เลเซอร์และ IPL จะมีคุณสมบัติทางเทคนิคที่แตกต่างกัน แต่กลไกในการทำงานใช้หลักการเดียวกัน กล่าวคือเครื่องมือทั้งสองชนิดให้กำเนิดพลังงานแสง ไปยังบริเวณผิวหนัง ที่มีรอยคล้ำจากกระหรือฝ้า ผิวหนังในส่วนที่มีเม็ดสีเมลานิน ปริมาณมากกว่าปกติจะดูดซับ พลังงานแสง แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงาน ความร้อน มีผลทำให้เม็ดสีเมลานินในบริเวณนั้นถูกทำลายและมีจำนวนลดลง มีผลทำให้กระหรือฝ้านั้นจางลงหรือหายไป เห็นผลการรักษาได้ค่อนข้างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยวิธีนี้ยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าทำการรักษาโดยผู้ที่ขาดความรู้ความชำนาญ และที่สำคัญกระและฝ้ายังจะ กลับมาเป็นใหม่ได้อีก เมื่อหยุดการรักษา ทั้งนี้เพราะเลเซอร์และ IPL สามารถกำจัดเม็ดสีส่วนเกินในผิวหนังได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการเกิด เม็ดสีที่สะสมขึ้นมาใหม่ ดังนั้นภายหลังการรักษาด้วยเลเซอร์หรือ IPL ยังคงต้องทายาเพื่อลดจำนวน เม็ดสีร่วมกับการ ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ
จากที่ได้รวบรวมมาทั้งหมดจะพบว่า การรักษาฝ้าและกระยังมีข้อจำกัดอยู่มาก เนื่องจากเรายังไม่ทราบสาเหตุของปัญหาอย่างชัดเจน การแก้ปัญหาส่วนใหญ่เป็นการแก้ไข ที่ปลายเหตุทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากนั้นการรักษา แต่ละชนิดล้วนแล้วแต่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้นการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาจึงควรทำด้วยความระมัดระวัง... ทางที่ดีควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ต้องร่วมป้องกันปัจจัย ที่จะกระตุ้นการเกิดกระและฝ้า การรักษาจึงจะได้ผลดี
นพ.จินดา โรจนเมธินทร์
ที่มา นิตยสาร Health Today
Powered by ScribeFire.
No comments:
Post a Comment