บีบีซีนิวส์ - บีบีซีนิวส์ - นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันอ้างว่า การนอนให้เต็มอิ่มช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ เพราะการนอนจะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายให้เป็นปกติ จึงลดโอกาสเป็นมะเร็งหรือชะลอการเติบโตของเนื้อร้ายได้ ศาสตราจารย์เดวิด สปีเกล จากศูนย์การแพทย์สแตนฟอร์ดยูนิวเวอร์ซิตีกล่าวว่า การนอนหลับนั้นช่วยรักษาสมดุลฮอร์โมนในร่างกายได้
ทั้งนี้ระดับฮอร์โมนคอร์ติโซล ฮอร์โมนเมลาโตนิน และฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไม่สมดุล อาจมีส่วนทำให้คนเป็นโรคมะเร็ง เขาศึกษาการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการนอนหลับและมะเร็ง โดยการศึกษาหนึ่งชี้ว่าโดยปกติแล้วระดับฮอร์โมนคอร์ติโซล ซึ่งช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันร่างกายรวมทั้งเซลล์ที่ช่วยต้านมะเร็ง มีระดับสูงสุดในช่วงเช้ามืดและต่ำลงในช่วงกลางวัน ขณะที่การศึกษาอีกชิ้นเผยว่าผู้หญิงกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นมะเร็งทรวงอก และมีระดับฮอร์โมนดังกล่าวสูงสุดในช่วงกลางวัน เสียชีวิตจากโรคเร็วกว่าปกติ ทำให้เขาเชื่อว่าระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติเพราะปัญหาการนอนหลับ อาจทำให้คนเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมากขึ้น นอกจากนี้ศาสตราจารย์สปีเกล ยังศึกษาบทบาทของฮอร์โมนเมลาโตนิน อันเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นระหว่างนอนหลับ และทำหน้าที่คล้ายสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถป้องกันความเสียหายของดีเอ็นเอซึ่งอาจนำไปสู่โรคมะเร็งได้ และช่วยชะลออัตราการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งกระตุ้นให้เนื้องอกที่หน้าอกหรือรังไข่โตขึ้นได้
การศึกษาชี้ว่าผู้หญิงที่ทำงานกะกลางคืน และมีร่างกายผลิตฮอร์โมนเมลาโตนินในปริมาณต่ำ มีอัตราการป่วยโรคมะเร็งทรวงอกมากกว่าผู้หญิงที่นอนตามเวลาปกติมาก ส่วนการศึกษาในหนูก็แสดงให้เห็นว่า หนูที่ถูกขัดจังหวะในการนอนหลับมีอัตราการเติบโตของเนื้องอกเร็วกว่าหนูปกติหลายเท่า ศาสตราจารย์สปีเกล กล่าวสรุปในผลการศึกษาล่าสุดซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร เบรน,บีเฮฟวิเออร์,แอนด์อิมมูนิตี ว่า "แพทย์ไม่ควรต่อสู้กับมะเร็งเท่านั้น แต่ต้องช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตอยู่กับมันไปได้ด้วย" "แม้ว่าการป่วยเป็นมะเร็งจะทำให้เราข่มตาไม่ลง แต่เราน่าจะช่วยให้คนหลับให้สบายได้อีกครั้ง และลืมเรื่องมะเร็งไปเสีย"
ที่มา ผู้จัดการ
ทั้งนี้ระดับฮอร์โมนคอร์ติโซล ฮอร์โมนเมลาโตนิน และฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไม่สมดุล อาจมีส่วนทำให้คนเป็นโรคมะเร็ง เขาศึกษาการวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการนอนหลับและมะเร็ง โดยการศึกษาหนึ่งชี้ว่าโดยปกติแล้วระดับฮอร์โมนคอร์ติโซล ซึ่งช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันร่างกายรวมทั้งเซลล์ที่ช่วยต้านมะเร็ง มีระดับสูงสุดในช่วงเช้ามืดและต่ำลงในช่วงกลางวัน ขณะที่การศึกษาอีกชิ้นเผยว่าผู้หญิงกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นมะเร็งทรวงอก และมีระดับฮอร์โมนดังกล่าวสูงสุดในช่วงกลางวัน เสียชีวิตจากโรคเร็วกว่าปกติ ทำให้เขาเชื่อว่าระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติเพราะปัญหาการนอนหลับ อาจทำให้คนเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมากขึ้น นอกจากนี้ศาสตราจารย์สปีเกล ยังศึกษาบทบาทของฮอร์โมนเมลาโตนิน อันเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นระหว่างนอนหลับ และทำหน้าที่คล้ายสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถป้องกันความเสียหายของดีเอ็นเอซึ่งอาจนำไปสู่โรคมะเร็งได้ และช่วยชะลออัตราการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งกระตุ้นให้เนื้องอกที่หน้าอกหรือรังไข่โตขึ้นได้
การศึกษาชี้ว่าผู้หญิงที่ทำงานกะกลางคืน และมีร่างกายผลิตฮอร์โมนเมลาโตนินในปริมาณต่ำ มีอัตราการป่วยโรคมะเร็งทรวงอกมากกว่าผู้หญิงที่นอนตามเวลาปกติมาก ส่วนการศึกษาในหนูก็แสดงให้เห็นว่า หนูที่ถูกขัดจังหวะในการนอนหลับมีอัตราการเติบโตของเนื้องอกเร็วกว่าหนูปกติหลายเท่า ศาสตราจารย์สปีเกล กล่าวสรุปในผลการศึกษาล่าสุดซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร เบรน,บีเฮฟวิเออร์,แอนด์อิมมูนิตี ว่า "แพทย์ไม่ควรต่อสู้กับมะเร็งเท่านั้น แต่ต้องช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตอยู่กับมันไปได้ด้วย" "แม้ว่าการป่วยเป็นมะเร็งจะทำให้เราข่มตาไม่ลง แต่เราน่าจะช่วยให้คนหลับให้สบายได้อีกครั้ง และลืมเรื่องมะเร็งไปเสีย"
ที่มา ผู้จัดการ
Powered by ScribeFire.
No comments:
Post a Comment