เรื่อง "การแพ้ยา" เป็นอีกคำถามหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะการแพ้ยาเป็นอันตรายอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา จึงได้รับความสนใจและเป็นคำถามประจำที่ผู้สั่งจ่ายยาไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร มักจะถามคุณอยู่เสมอ ทั้งที่โรงพยาบาลในตอนทำประวัติผู้ป่วยใหม่ หรือในขั้นตอนการรักษาของแพทย์ หรือในขั้นตอนการจ่ายยาของเภสัชกรที่ห้องยา
การแพ้ยาเป็นอาการอันไม่พึงประสงค์อย่างหนึ่งของการใช้ยาสมดั่งคำขวัญที่ว่า "ยามีคุณอนันต์ มีโทษมหันต์" ดังนั้นถ้าไม่มีข้อบ่งใช้หรือไม่มีความจำเป็นจึงไม่ควรใช้ยา เพราะอาจเกิดการแพ้และเกิดผลข้างเคียงชนิดอื่นๆ ได้
ใครบ้างที่จะมีโอกาสแพ้ยา?
ในผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่เคยมีประวัติการแพ้ยา จะไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่า ตนเองจะเกิดการแพ้ยาหรือไม่ และเกิดขึ้นเมื่อใดเพราะในรายที่ไม่เคยแพ้ยา แม้ว่าผู้นั้นจะเคยใช้ยาชนิดนั้นแล้วไม่ค่อยเกิดอาการแพ้ยาก็ตาม แต่เมื่อมีการใช้ยานั้นในครั้งต่อไป ก็อาจเกิดการแพ้ขึ้นได้โดยคาดเดาไม่ได้
แค่ในผู้ที่เคยมีประวัติแพ้ยามาแล้ว เมื่อใช้ยาที่เคยแพ้อีก อาการแพ้ยาจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น มากขึ้นๆ เรื่อยๆ จนบางรายอาจช็อคและเสียชีวิตได้
ยาอะไรที่ทำให้เกิดการแพ้ยาได้?
ยาที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการแพ้ยาได้บ่อย ได้แก่ ยากลุ่มเพนนิซิลลิน (penicillins) ยากลุ่มซัลฟา (sulfonamides) และยาแก้ปวดลดไข้ (NSAIDs) เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามยาทุกชนิดก็มีโอกาสทำให้เกิดอาการแพ้ได้ แม้แต่ยาที่ปลอดภัยมากๆ เช่น ยาพาราเซตามอล ก็มีรายงานว่ามีผู้ป่วยแพ้ยาชนิดนี้ได้เช่นกัน
เมื่อเกิดการแพ้ยาแล้ว จะมีอาการอย่างไร?
อาการแพ้ยามีตังแต่ระดับน้อยๆ อาจเป็นแค่ผื่นคัน ลมพิษ ผื่นแดง หรือในบางรายอาจมีอาการริมฝีปากบวม หน้าตาบวม หนังตามบวม พุพอง ผิวหนังเปื่อยลอก แต่ถ้าแพ้ยารุนแรงมากขึ้นอาจทำให้ใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน เป็นลม ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเบาและเร็ว หยุดหายใจ ช็อค และตายได้
การแพ้ยาฉีดมักมีอาการรุนแรงมากกว่ายาชนิดรับประทาน และส่วนใหญ่ของผู้ที่แพ้ยามักมีอาการไม่รุนแรง และหายเองได้เมื่อหยุดยา
เมื่อสงสัยว่าแพ้ยาควรปฏิบัติตัวอย่างไร?
ดังนั้นในรายที่สงสัยว่าอาจเกิดการแพ้ยาขึ้น จึงควรหยุดยาและรีบไปหาแพทย์หรือกลับมาพบผู้สั่งจ่ายยาทันที เพื่อรักษาอาการแพ้ยาที่เกิดขึ้น อย่าลืมสอบถามผู้สั่งจ่ายยาถึงชื่อยาที่ตนเองแพ้อยู่นั้นเป็นยาชนิดใด เมื่อทราบแล้วควรจดจำและบันทึกไว้ และแจ้งแก่ผู้สั่งจ่ายยาทุกครั้งที่มีการจ่ายยา เพื่อเป็นการเตือนทั้งผู้สั่งจ่ายและตนเอง ให้ป้องกันการแพ้ยาที่จะรุนแรงมากขึ้น หากได้รับยาที่ตนแพ้นั้นอีก
การรณรงค์จัดทำ "บัตรแพ้ยา"
ในร้านยาของเภสัชกรชุมชนได้มีการรณรงค์จัดทำ "บัตรแพ้ยา" ให้แก่ทุกคนที่มาใช้บริการ คุณสามารถแจ้งกับเภสัชกรได้เลยว่า คุณแพ้ยาอะไร เภสัชกรจะจัดทำบัตรแพ้ยามอบให้คุณฟรี
สุดท้ายนี้ผมขอเสนอความคิดเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่เคยมีประวัติแพ้ยาว่าคุณควรจัดทำสร้อยข้อมือ แหวน หรือสร้อยคอที่ระบุว่าคุณแพ้ยาชนิดใด เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยแสดงข้อมูลการแพ้ยาเหล่านี้แทนตัวคุณ การช่วยหลือคุณในยามฉุกเฉินจะได้ผลลัพธ์ที่ดีและปลอดภัยกับตัวคุณมากที่สุดครับ
ที่มา นิตยสาร HealthToday
การแพ้ยาเป็นอาการอันไม่พึงประสงค์อย่างหนึ่งของการใช้ยาสมดั่งคำขวัญที่ว่า "ยามีคุณอนันต์ มีโทษมหันต์" ดังนั้นถ้าไม่มีข้อบ่งใช้หรือไม่มีความจำเป็นจึงไม่ควรใช้ยา เพราะอาจเกิดการแพ้และเกิดผลข้างเคียงชนิดอื่นๆ ได้
ใครบ้างที่จะมีโอกาสแพ้ยา?
ในผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่เคยมีประวัติการแพ้ยา จะไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่า ตนเองจะเกิดการแพ้ยาหรือไม่ และเกิดขึ้นเมื่อใดเพราะในรายที่ไม่เคยแพ้ยา แม้ว่าผู้นั้นจะเคยใช้ยาชนิดนั้นแล้วไม่ค่อยเกิดอาการแพ้ยาก็ตาม แต่เมื่อมีการใช้ยานั้นในครั้งต่อไป ก็อาจเกิดการแพ้ขึ้นได้โดยคาดเดาไม่ได้
แค่ในผู้ที่เคยมีประวัติแพ้ยามาแล้ว เมื่อใช้ยาที่เคยแพ้อีก อาการแพ้ยาจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น มากขึ้นๆ เรื่อยๆ จนบางรายอาจช็อคและเสียชีวิตได้
ยาอะไรที่ทำให้เกิดการแพ้ยาได้?
ยาที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการแพ้ยาได้บ่อย ได้แก่ ยากลุ่มเพนนิซิลลิน (penicillins) ยากลุ่มซัลฟา (sulfonamides) และยาแก้ปวดลดไข้ (NSAIDs) เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามยาทุกชนิดก็มีโอกาสทำให้เกิดอาการแพ้ได้ แม้แต่ยาที่ปลอดภัยมากๆ เช่น ยาพาราเซตามอล ก็มีรายงานว่ามีผู้ป่วยแพ้ยาชนิดนี้ได้เช่นกัน
เมื่อเกิดการแพ้ยาแล้ว จะมีอาการอย่างไร?
อาการแพ้ยามีตังแต่ระดับน้อยๆ อาจเป็นแค่ผื่นคัน ลมพิษ ผื่นแดง หรือในบางรายอาจมีอาการริมฝีปากบวม หน้าตาบวม หนังตามบวม พุพอง ผิวหนังเปื่อยลอก แต่ถ้าแพ้ยารุนแรงมากขึ้นอาจทำให้ใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน เป็นลม ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเบาและเร็ว หยุดหายใจ ช็อค และตายได้
การแพ้ยาฉีดมักมีอาการรุนแรงมากกว่ายาชนิดรับประทาน และส่วนใหญ่ของผู้ที่แพ้ยามักมีอาการไม่รุนแรง และหายเองได้เมื่อหยุดยา
เมื่อสงสัยว่าแพ้ยาควรปฏิบัติตัวอย่างไร?
ดังนั้นในรายที่สงสัยว่าอาจเกิดการแพ้ยาขึ้น จึงควรหยุดยาและรีบไปหาแพทย์หรือกลับมาพบผู้สั่งจ่ายยาทันที เพื่อรักษาอาการแพ้ยาที่เกิดขึ้น อย่าลืมสอบถามผู้สั่งจ่ายยาถึงชื่อยาที่ตนเองแพ้อยู่นั้นเป็นยาชนิดใด เมื่อทราบแล้วควรจดจำและบันทึกไว้ และแจ้งแก่ผู้สั่งจ่ายยาทุกครั้งที่มีการจ่ายยา เพื่อเป็นการเตือนทั้งผู้สั่งจ่ายและตนเอง ให้ป้องกันการแพ้ยาที่จะรุนแรงมากขึ้น หากได้รับยาที่ตนแพ้นั้นอีก
การรณรงค์จัดทำ "บัตรแพ้ยา"
ในร้านยาของเภสัชกรชุมชนได้มีการรณรงค์จัดทำ "บัตรแพ้ยา" ให้แก่ทุกคนที่มาใช้บริการ คุณสามารถแจ้งกับเภสัชกรได้เลยว่า คุณแพ้ยาอะไร เภสัชกรจะจัดทำบัตรแพ้ยามอบให้คุณฟรี
สุดท้ายนี้ผมขอเสนอความคิดเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่เคยมีประวัติแพ้ยาว่าคุณควรจัดทำสร้อยข้อมือ แหวน หรือสร้อยคอที่ระบุว่าคุณแพ้ยาชนิดใด เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยแสดงข้อมูลการแพ้ยาเหล่านี้แทนตัวคุณ การช่วยหลือคุณในยามฉุกเฉินจะได้ผลลัพธ์ที่ดีและปลอดภัยกับตัวคุณมากที่สุดครับ
ที่มา นิตยสาร HealthToday
Powered by ScribeFire.
No comments:
Post a Comment