มะเร็งหมายถึงมหันตภัยที่ค่อยๆ คุกคามชีวิตแล้วละก็ ยาสตีรอยด์ที่มีอยู่ในยาชุด / ยาลูกกลอน ก็เปรียบเสมือนมะเร็งร้ายที่คุณเปิดประตูต้อนรับเข้าสู่ร่างกายของคุณเอง
มากกว่าครึ่งของยาชุด/ยาลูกกลอน ที่จำหน่ายในท้องตลาด ล้วนมีส่วนผสมของสตีรอยด์ทั้งสิ้น และแน่นอนในระยะเริ่มแรกมันเปรียบเสมือนมิตรที่แสนดี ทำให้คนไม่คิดระแวง ไม่คิดระวัง และติดใจกับบริการของสตีรอยด์ที่แฝงตัวอยู่ในยาชุด ยาลูกกลอนเหล่านั้น
สำหรับอิทธิฤทธิ์ของสตีรอยด์ที่ทำให้หลายคนติดใจส่วนหนึ่งเป็นเพราะกินเข้าไปแล้วได้ผลทนตาเห็น อาทิ คนที่กำลังผจญภัยกับอาการปวดอย่างแสนสาหัส พอกินปุ๊บก็หายปวดปั๊บ และที่สำคัญยาเหล่านี้มีราคาถูก หาซื้อกินเองได้ง่าย
ยาชุดที่มีสตีรอยด์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ชัดเจนขนาดนี้ ทำไมจึงหาว่า มันมีลักษณะคล้ายมะเร็งอีกล่ะ ?
"สิ่งใดมีคุณอนันต์ ย่อมมีโทษมหันต์" ซึ่งเป็นคำพูดที่สามารถอธิบายถึงอิทธิฤทธิ์ของสตีรอยด์ในยาชุด ยาลูกกลอน เป็นอย่างดีทีเดียว
อย่างที่บอกในตอนต้นแล้วว่า ระยะเริ่มแรกของการใช้ยานี้จะทำให้คุณรู้สึกดีและมีความสุขในการดำรงชีวิต แต่เมื่อคืนวันผ่านไป คุณจะได้เห็นโฉมหน้าที่แท้จริงว่าเป็น "เทวดาหรือพญามาร" ซึ่ง ณ เวลานั้นก็สายเกินไปเสียแล้วที่จะกลับตัวกลับใจ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคุณคือ ไตพิการ กระดูกผุ หน้าบวมเป็นดวงจันทร์ (moon face) อ้วน บวมน้ำ ความดันเลือดสูง กล้ามเนื้อไม่มี เป็นต้น
การแพร่ระบาดของการใช้สตีรอยด์อย่างผิดๆ ว่า แท้ที่จริงแล้วเกิดจากอะไรกันแน่นั้น คงต้องขออธิบายลึกลงไปถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ความเชื่อและทัศนคติในการใช้ยา
จุดนี้เองที่ทำให้เกิดการใช้สตีรอยด์อย่างผิดๆ อย่างแพร่หลายจนกลายมาเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญ
ยาสตีรอยด์ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดคิดว่าโรคหายและไม่ยอมไปพบแพทย์ แต่สุดท้ายกว่าผู้ป่วยจะยอมไปพบแพทย์อาการก็แสนสาหัสเสียแล้ว พอถึงตรงนี้ ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาลก็จะแพงกว่าการรักษาแต่เนิ่นๆ (หมายถึงช่วงที่อาการ/โรคยังไม่รุนแรง หรือในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค)
ถึงตรงนี้ผู้อ่านสงสัยอีกใช่ไหมว่า แล้วยาอันตรายอย่างนี้ ทำไมถึงยอมให้มีการทำออกมาขายควรจะเลิกผลิตได้แล้ว
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อ.ย.ได้กำหนดให้สารสตีรอยด์จัดเป็น "ยาควบคุมพิเศษ" หมายถึงเป็นยาที่ต้องควบคุมดูแลและจับตามองเป็นพิเศษ มีบทบัญญัติและบทลงโทษหากมีการฝ่าฝืนเกิดขึ้น แต่เนื่องด้วยการใช้มาตรการทางกฎหมายนั้น มีข้อจำกัดทางด้านกำลังคน
ดังนั้น การพึ่งตนเองก่อนปลอดภัยที่สุด นั่นคือปฏิเสธยาที่ผสมสตีรอยด์
ถามคนขายไปตรงๆ เลยว่า "ในยาชุดนี้มีสตีรอยด์อยู่ด้วยหรือเปล่า" เพื่อความมั่นใจว่าคุณจะปลอดภัยจากสตีรอยด์ ควรดูว่า "เป็นยาที่ได้รับทะเบียนยาจาก อ.ย. ถูกต้องหรือเปล่า" โดยการสังเกตฉลากที่ปิดผนึกบนภาชนะบรรจุ ว่าจะต้องมีเลขทะเบียนตำรับยา ซึ่งถ้าเป็นยาแผนโบราณที่ผลิตในประเทศ เลขทะเบียนจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร G แต่ถ้าเป็นยาแผนโบราณที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เลขทะเบียนจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร K ต่อมาจะเป็นเลขแสดงลำดับการอนุญาตและปี พ.ศ. ที่อนุญาต เช่น
G20/42 หมายถึง ยาตำรับนี้เป็นยาแผนโบราณที่ผลิตในประเทศ ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนลำดับที่ 20 ในปี พ.ศ.2542 เป็นต้น
เห็นไหมว่า การปฏิเสธมหันตภัยสตีรอยด์นั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่คุณไม่เคลิบเคลิ้มและหลงใหลไปกับอิทธิฤทธิ์ของสตีรอยด์เท่านั้นเอง ชีวิตคุณก็จะมีความปลอดภัย และมีความสุขอยู่กับคนที่คุณรักได้อีกนาน
ในวงการแพทย์และวงการยาที่มีการใช้สตีรอยด์อย่างถูกวิธี ตามหลักวิชาการและอย่างรู้เท่าทัน จะพบว่าสตีรอยด์ยังเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยบางกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับการเยียวยาจากสตีรอยด์อยู่อีก อาทิ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคภูมิต้านตัวเอง โรคเลือด โรคไต เป็นต้น ซึ่งการใช้ยาสตีรอยด์ในการรักษาโรคดังกล่าวนั้น ต้องมีการกำหนดขนาดยา ปริมาณการใช้ และระยะเวลาที่ใช้ยาตามแบบแผนการรักษาที่เหมาะสม ดังนั้น หากต้องเลิกผลิตจริงๆ จะทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับความลำบากอย่างยิ่งและเสียโอกาสทางการรักษาไป
การใช้สตีรอยด์อย่างถูกต้อง ถูกวิธี ถูกโรค จริงๆ จะนำมาซึ่งประโยชน์ ในขณะที่หากนำสตีรอยด์ไปใช้ตามอำเภอใจ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยปราศจากความรู้ความเข้าใจในอิทธิฤทธิ์ของสตีรอยด์อย่างถ่องแท้แล้วละก็มันก็คงไม่แตกต่างอะไรกับการเปิดประตูต้อนรับมหันตภัยเข้าสู่ร่างกายของตัวคุณเอง
ที่มา นิตยสารหมอชาวบ้าน (update 23 มีนาคม 2006)
มากกว่าครึ่งของยาชุด/ยาลูกกลอน ที่จำหน่ายในท้องตลาด ล้วนมีส่วนผสมของสตีรอยด์ทั้งสิ้น และแน่นอนในระยะเริ่มแรกมันเปรียบเสมือนมิตรที่แสนดี ทำให้คนไม่คิดระแวง ไม่คิดระวัง และติดใจกับบริการของสตีรอยด์ที่แฝงตัวอยู่ในยาชุด ยาลูกกลอนเหล่านั้น
สำหรับอิทธิฤทธิ์ของสตีรอยด์ที่ทำให้หลายคนติดใจส่วนหนึ่งเป็นเพราะกินเข้าไปแล้วได้ผลทนตาเห็น อาทิ คนที่กำลังผจญภัยกับอาการปวดอย่างแสนสาหัส พอกินปุ๊บก็หายปวดปั๊บ และที่สำคัญยาเหล่านี้มีราคาถูก หาซื้อกินเองได้ง่าย
ยาชุดที่มีสตีรอยด์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ชัดเจนขนาดนี้ ทำไมจึงหาว่า มันมีลักษณะคล้ายมะเร็งอีกล่ะ ?
"สิ่งใดมีคุณอนันต์ ย่อมมีโทษมหันต์" ซึ่งเป็นคำพูดที่สามารถอธิบายถึงอิทธิฤทธิ์ของสตีรอยด์ในยาชุด ยาลูกกลอน เป็นอย่างดีทีเดียว
อย่างที่บอกในตอนต้นแล้วว่า ระยะเริ่มแรกของการใช้ยานี้จะทำให้คุณรู้สึกดีและมีความสุขในการดำรงชีวิต แต่เมื่อคืนวันผ่านไป คุณจะได้เห็นโฉมหน้าที่แท้จริงว่าเป็น "เทวดาหรือพญามาร" ซึ่ง ณ เวลานั้นก็สายเกินไปเสียแล้วที่จะกลับตัวกลับใจ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคุณคือ ไตพิการ กระดูกผุ หน้าบวมเป็นดวงจันทร์ (moon face) อ้วน บวมน้ำ ความดันเลือดสูง กล้ามเนื้อไม่มี เป็นต้น
การแพร่ระบาดของการใช้สตีรอยด์อย่างผิดๆ ว่า แท้ที่จริงแล้วเกิดจากอะไรกันแน่นั้น คงต้องขออธิบายลึกลงไปถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ความเชื่อและทัศนคติในการใช้ยา
- เชื่อว่าการซื้อยากินเองช่วยบรรเทาอาการได้ และจะแนะนำยาที่ใช้แล้วได้ผลดีให้แก่ผู้ใกล้ชิดที่มีอาการเดียวกัน ซึ่งเป็นที่มาของทัศนคติที่ว่า "การซื้อยากินเองเป็นสิ่งที่ถูกต้องและไม่น่าจะเป็นอันตราย"
- การเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยจะปรึกษาและเชื่อคำแนะนำของคนในครอบครัว นั่นคือสมาชิกในครอบครัวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการใช้ยาและการรักษา
- ซื้อยาที่ต้องการได้ง่าย และพยายามซื้อยาที่ต้องการแม้ว่าจะหาได้ยากหรือถูกห้ามขายก็ตาม และยิ่งถ้ายานั้นทำให้อาการดีขึ้นก็จะซื้อกินเองซ้ำอีกเรื่อยๆ
จุดนี้เองที่ทำให้เกิดการใช้สตีรอยด์อย่างผิดๆ อย่างแพร่หลายจนกลายมาเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญ
ยาสตีรอยด์ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดคิดว่าโรคหายและไม่ยอมไปพบแพทย์ แต่สุดท้ายกว่าผู้ป่วยจะยอมไปพบแพทย์อาการก็แสนสาหัสเสียแล้ว พอถึงตรงนี้ ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาลก็จะแพงกว่าการรักษาแต่เนิ่นๆ (หมายถึงช่วงที่อาการ/โรคยังไม่รุนแรง หรือในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค)
ถึงตรงนี้ผู้อ่านสงสัยอีกใช่ไหมว่า แล้วยาอันตรายอย่างนี้ ทำไมถึงยอมให้มีการทำออกมาขายควรจะเลิกผลิตได้แล้ว
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อ.ย.ได้กำหนดให้สารสตีรอยด์จัดเป็น "ยาควบคุมพิเศษ" หมายถึงเป็นยาที่ต้องควบคุมดูแลและจับตามองเป็นพิเศษ มีบทบัญญัติและบทลงโทษหากมีการฝ่าฝืนเกิดขึ้น แต่เนื่องด้วยการใช้มาตรการทางกฎหมายนั้น มีข้อจำกัดทางด้านกำลังคน
ดังนั้น การพึ่งตนเองก่อนปลอดภัยที่สุด นั่นคือปฏิเสธยาที่ผสมสตีรอยด์
ถามคนขายไปตรงๆ เลยว่า "ในยาชุดนี้มีสตีรอยด์อยู่ด้วยหรือเปล่า" เพื่อความมั่นใจว่าคุณจะปลอดภัยจากสตีรอยด์ ควรดูว่า "เป็นยาที่ได้รับทะเบียนยาจาก อ.ย. ถูกต้องหรือเปล่า" โดยการสังเกตฉลากที่ปิดผนึกบนภาชนะบรรจุ ว่าจะต้องมีเลขทะเบียนตำรับยา ซึ่งถ้าเป็นยาแผนโบราณที่ผลิตในประเทศ เลขทะเบียนจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร G แต่ถ้าเป็นยาแผนโบราณที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เลขทะเบียนจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร K ต่อมาจะเป็นเลขแสดงลำดับการอนุญาตและปี พ.ศ. ที่อนุญาต เช่น
G20/42 หมายถึง ยาตำรับนี้เป็นยาแผนโบราณที่ผลิตในประเทศ ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนลำดับที่ 20 ในปี พ.ศ.2542 เป็นต้น
เห็นไหมว่า การปฏิเสธมหันตภัยสตีรอยด์นั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่คุณไม่เคลิบเคลิ้มและหลงใหลไปกับอิทธิฤทธิ์ของสตีรอยด์เท่านั้นเอง ชีวิตคุณก็จะมีความปลอดภัย และมีความสุขอยู่กับคนที่คุณรักได้อีกนาน
ในวงการแพทย์และวงการยาที่มีการใช้สตีรอยด์อย่างถูกวิธี ตามหลักวิชาการและอย่างรู้เท่าทัน จะพบว่าสตีรอยด์ยังเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยบางกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับการเยียวยาจากสตีรอยด์อยู่อีก อาทิ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคภูมิต้านตัวเอง โรคเลือด โรคไต เป็นต้น ซึ่งการใช้ยาสตีรอยด์ในการรักษาโรคดังกล่าวนั้น ต้องมีการกำหนดขนาดยา ปริมาณการใช้ และระยะเวลาที่ใช้ยาตามแบบแผนการรักษาที่เหมาะสม ดังนั้น หากต้องเลิกผลิตจริงๆ จะทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับความลำบากอย่างยิ่งและเสียโอกาสทางการรักษาไป
การใช้สตีรอยด์อย่างถูกต้อง ถูกวิธี ถูกโรค จริงๆ จะนำมาซึ่งประโยชน์ ในขณะที่หากนำสตีรอยด์ไปใช้ตามอำเภอใจ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยปราศจากความรู้ความเข้าใจในอิทธิฤทธิ์ของสตีรอยด์อย่างถ่องแท้แล้วละก็มันก็คงไม่แตกต่างอะไรกับการเปิดประตูต้อนรับมหันตภัยเข้าสู่ร่างกายของตัวคุณเอง
ที่มา นิตยสารหมอชาวบ้าน (update 23 มีนาคม 2006)
No comments:
Post a Comment