คนที่เคยนั่งเครื่องบินนานๆ แบบข้ามทวีป เปลี่ยนที่ เปลี่ยนเวลา จากกลางวันเป็นกลางคืน คงเคยสัมผัสกับอาการอ่อนเพลีย หมดแรง ที่เราเรียกว่า "เจ็ทแล็ค (Jet Lag)" กันบ้างหรอกนะคะ
อาการหลักๆ ของ Jet Lag ได้แก่ ปวดหัว เหนื่อยล้า หมดแรง เซื่องซึม อารมณ์ฉุนเฉียวผิดปกติ ใครทำอะไรนิดก็หงุดหงิด ตัดสินใจอะไรไม่ค่อยได้ สมาธิกระเจิง ไม่หิว หรืออยากอาหาร แถมจะนอนพักก็ยังหลับยากอีกต่างหาก
สาเหตุหลักๆ เกิดจากการเปลี่ยนเวลาจนนาฬิกาชีวิตเราตามไม่ทันนั่นเอง เนื่องจากนาฬิกาชีวิตเราจะทำงานตลอด 24 ชั่วโมงตามสิ่งเร้าที่มากระตุ้น เช่น การกิน และการนอน ปฏิกิริยาต่อแสงสว่างและความมืด คนที่เคยนอน 4 ทุ่มตื่น 6 โมงเป็นประจำ นาฬิกาชีวิตก็จะเดินตามนั้น เมื่อเดินทางไปต่างโซนเวลามันจึงรวนไปชั่วขณะ ยิ่งข้ามโลกไปไกลมาก ยิ่งอ่อนเพลียมาก เชื่อว่าการเดินทางข้ามโซนเวลาไปทางทิศตะวันออกจะทำให้ร่างกายต้องพยายามปรับตัวมากขึ้นกว่าไปทางทิศตะวันตก
นับว่ายังดีที่อาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วข้ามคืน แต่ก็เล่นเอาหลายคนทรมานไม่น้อย ตรงนี้มีข้อแนะนำบางอย่างเพื่อช่วยลดอาการ Jet Lag ลงได้บ้างค่ะ
ที่มาข้อมูล นิตยสาร Health Today
อาการหลักๆ ของ Jet Lag ได้แก่ ปวดหัว เหนื่อยล้า หมดแรง เซื่องซึม อารมณ์ฉุนเฉียวผิดปกติ ใครทำอะไรนิดก็หงุดหงิด ตัดสินใจอะไรไม่ค่อยได้ สมาธิกระเจิง ไม่หิว หรืออยากอาหาร แถมจะนอนพักก็ยังหลับยากอีกต่างหาก
สาเหตุหลักๆ เกิดจากการเปลี่ยนเวลาจนนาฬิกาชีวิตเราตามไม่ทันนั่นเอง เนื่องจากนาฬิกาชีวิตเราจะทำงานตลอด 24 ชั่วโมงตามสิ่งเร้าที่มากระตุ้น เช่น การกิน และการนอน ปฏิกิริยาต่อแสงสว่างและความมืด คนที่เคยนอน 4 ทุ่มตื่น 6 โมงเป็นประจำ นาฬิกาชีวิตก็จะเดินตามนั้น เมื่อเดินทางไปต่างโซนเวลามันจึงรวนไปชั่วขณะ ยิ่งข้ามโลกไปไกลมาก ยิ่งอ่อนเพลียมาก เชื่อว่าการเดินทางข้ามโซนเวลาไปทางทิศตะวันออกจะทำให้ร่างกายต้องพยายามปรับตัวมากขึ้นกว่าไปทางทิศตะวันตก
นับว่ายังดีที่อาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วข้ามคืน แต่ก็เล่นเอาหลายคนทรมานไม่น้อย ตรงนี้มีข้อแนะนำบางอย่างเพื่อช่วยลดอาการ Jet Lag ลงได้บ้างค่ะ
- หาเที่ยวบินที่จะไปถึงที่หมายตอนกลางคืน จะช่วยให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับเวลาใหม่ได้ง่ายขึ้น
- การขาดน้ำทำให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์บนเครื่องบิน หันมาจิบน้ำเปล่าบ่อยๆ หรือดื่มน้ำผลไม้แทน
- หาเวลาออกไปรับแดดในตอนกลางวันเมื่อถึงที่หมาย เพื่อให้ร่างกายรับรู้เวลาตื่น
- ใครที่เคยออกกำลังกายเป็นประจำ เช่นวิ่งจ๊อกกิ้ง ก็ควรทำเหมือนเดิม เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว และทำให้พร้อมพักผ่อนเมื่อถึงเวลาพัก
- อย่าเผลองีบหลับนานๆ จะทำให้คุณปรับตัวเข้ากับเวลาใหม่ได้ยาก ถ้าง่วงมากก็งีบสั้นๆ พอ
- คนที่ต้องกินยาตามเวลาอย่างต่อเนื่อง ให้กินยาตามเวลาที่บ้านเดิม แต่หากจำเป็นต้องใช้ชีวิตในสถานที่ใหม่นานๆ ก็ควรค่อยๆ ปรับให้เข้ากับมื้ออาหารใหม่ เริ่มจากปรับให้ยาแต่ละมื้อห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง จนกว่าจะลงตัวกับมื้ออาหารในที่ใหม่ และเมื่อถึงเวลาเดินทางกลับบ้านก็ต้องทำเช่นเดียวกัน จนกว่าจะลงตัว
ที่มาข้อมูล นิตยสาร Health Today
No comments:
Post a Comment