Wednesday, February 27, 2008

มะเร็งไฝ (Melanoma)

เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่แพร่กระจายเร็วมาก เกิดจากเซลล์สร้างสีผิว melanocyte การที่จะเข้าใจโรคนี้ท่านจะต้องเข้าใจโครงสร้างของผิวหนัง

โครงสร้างของผิวหนัง
  • ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มร่างกายทำหน้าที่ป้องกัน ความร้อน แสง การติดเชื้อ ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และสร้างวิตามินดีผิวหนังประกอบด้วยเซลล์สองชั้น

  • ชั้น epidermis เป็นชั้นนอกสุดประกอบด้วยชั้นบนสุดเป็น squamous เซลล์รองลงมาได้แก่ basal cell โดยมี melanocyte อยู่ใต้ subcutaneous

  • ชั้น dermis เป็นชั้นที่อยู่ของ ต่อมขน ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน หลอดเลือด

Melanocyte และ ไฝ Mole

melanocyte เป็นตัวสร้างสีผิว melanin เมื่อผิวถูกแสงทำให้สีผิวเข็มขึ้น ไฝเป็นกลุ่มของ melanocyte ที่อยู่รวมกันมักเกิดในช่วงอายุ 10-40 ปี อาจจะแบน หรือนูน สีอาจเป็นสีชมพู หรือสีน้ำตาล รูปร่างกลม หรือวงรีไฝมักจะไม่เปลี่ยนแปลงขนาดหรือสีตัดออกแล้วไม่กลับเป็นซ้ำ

Melamoma

เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ melanocyte ที่แบ่งตัวนอกเหนือการควบคุมของร่างกาย ถ้าเกิดที่ผิวหนังเรียก cutaneous melanoma เกิดที่ตาเรียก ocular melanoma โดยทั่วไปเกิดบริเวณลำตัว ขา ถ้าคนผิวดำมักเกิดที่เล็บ โดยทั่วไปมะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและอาจพบที่อวัยวะอื่นๆได้เรียก metastasis melanoma

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง
  • ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งไฝ จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากกว่า 2 เท่าดังนั้นสมาชิกในครอบครัวควรได้รับการตรวจจากแพทย์
  • Dysplastic nevi ไฝที่มีลักษณะชิ้นเนื้อแบบนี้จะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูง
  • เคยเป็น melanoma
  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น AIDS
  • มีไฝจำนวนมาก เช่นมากกว่า 50 เม็ดจะมีโอกาสเป็นมะเร็งมาก
  • แสง ultraviolet ควรสวมเสื้อแขนยาวและหมวกเพื่อกันแสง ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดเวลา 10-16.00 น.ควรทาครีมกันแสงร่วมด้วย
  • เคยถูกแสงจนไหม้เมื่อวัยเด็ก ดังนั้นควรป้องกันไม่ให้เด็กสัมผัสแสงแดด
  • สีผิว ผิวขาวมีโอกาสเกิดมะเร็งได้ง่ายกว่าผิวคล้ำ
อาการของมะเร็งไฝ
อาการเริ่มแรกมักเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง ขนาด สี รูปร่าง ขอบ บางรายอาจมีอาการคัน มีขุยหากเป็นมากขึ้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงของความแข็ง หากพบมะเร็งเริ่มต้นการรักษาจะหายขาด แต่หากรุกลามเข้าใต้ผิวหนังมะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น














Asymmetry
รูปร่างไม่สมดุล
Border
ขอบไม่เรียบ เป็นรอยขรุขระ
Color
มีการเปลี่ยนของสี
Diameter
ขนาดใหญ่ขึ้น

การวินิจฉัย
หากแพทย์สงสัยว่าไฝที่เห็นว่าจะเป็นมะเร็งแพทย์จะตัดก้อนนั้นส่งพยาธิแพทย์ตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์ หากก้อนนั้นใหญ่มากแพทย์จะตัดเพียงบางส่วนส่งตรวจ ถ้าพบเซลล์มะเร็งแพทย์จะตรวจพิเศษเพิ่มเพื่อตรวจดูว่ามะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นหรือยัง

การรักษา
หลังจากวินิจฉัยและทราบการแพร่กระจายของโรคแพทย์จะวางแผนการรักษาก่อนการรักษาควรจดบันทึกคำถามเพื่อถามแพทย์ดังตัวอย่าง
  • การวินิจฉัยของแพทย์
  • มะเร็งแพร่กระจายไปหรือยัง
  • ควรจะรักษาด้วยวิธีใดดีที่สุด และแพทย์เลือกวิธีใด
  • โอกาสที่จะประสบผลสำเร็จมีมากหรือไม่
  • เราจะทราบอย่างไรว่าการรักษาได้ผล
  • การรักษาจะสิ้นสุดเมื่อใด
  • จะดูแลตัวเองระหว่างการรักษาอย่างไร
  • ผลข้างเคียงของการรักษามีอะไรบ้าง
  • จะเจ็บปวดหรือไม่ และจะใช้ยาอะไรในการควบคุม
  • หลังการผ่าตัดต้องรักษาอย่างอื่นหรือไม่
วิธีการรักษา
  1. การผ่าตัด เป็นการรักษามาตรฐานแพทย์จะพยายามตัดเนื้อร้ายออกให้หมดร่วมทั้งต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้เนื้อร้าย ถ้ามะเร็งแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นแพทย์จะให้การรักษาอย่างอื่น
  2. เคมีบำบัด เป็นการให้สารเคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งโดยอาจเป็นยากินหรือยาฉีด
  3. รังสีรักษาเป็นการฆ่ามะเร็งเฉพาะที่โดยเฉพาะมะเร็งที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น สมอง ปอด ตับ
  4. การสร้างภูมิคุ้มกัน อาจให้ภูมิโดยการฉีด เช่นการให้ interferon หรือ interleukin โดยการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิขึ้นมาเช่นการฉีดวัคซีน
ผลข้างเคียงของการรักษา
  1. การผ่าตัด อาจทำให้เกิดแผลเป็นบางรายเกิด keloid การตัดต่อมน้ำเหลืองอาจทำให้ขาหรือแขนบวม
  2. เคมีบำบัด การให้เคมีบำบัดอาจให้เกิดโลหิตจาง ติดเชื้อง่าย หรือเลือดออกง่าย ผมร่วง
  3. รังสีรักษา ทำให้ผมบริเวณที่ฉายรังสีร่วง อาจมีอาการอ่อนเพลีย
  4. การสร้างภูมิคุ้มกัน อาจมีอาการปวดเมื่อตามตัวเบื่ออาหาร ท้องร่วง

No comments: